
"ขันทองพยาบาท"แก้ตับพิการ
ปกติไม่ค่อยได้เห็น "ขันทองพยาบาท" บ่อยนัก เพราะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง
อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ลำต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งก้านกลม มีสรรพคุณทางยา เนื้อไม้รสเฝื่อนรักษาอาการพิษในกระดูก กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ กามโรค เปลือกบำรุงเหงือก โรคผิวหนัง และยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ
ใบ เป็นใบเดี่ยว หนาแข็ง ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปใบหอกกว้าง 4-8 ซม. ยาว 8-16.5 ซม. ปลายและโคนใบจะแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นใบมีทั้งหมด 14-16 คู่ และก้านใบยาว 0.9-1.6 ซม.เป็นร่องลึก
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ความยาวดอก 16-18 ซม. มีกลีบรองดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนกันคล้ายรูปไข่ ขอบจักเป็นซี่ฟัน ตรงโคนสอบแคบ เกสรตัวผู้มี 3 อัน เชื่อมติดกันที่โคน อับเรณูกลมยอดเกสรตัวเมียจะมี 3 พู เมล็ด (ผล)
ผล กลมรีกว้าง 1.8-2 ซม. และยาว 8-10 ซม. ตรงปลายกลมและแข็งจะมีเส้นตามความยาว เมื่อผลแก่จะแตกตรงรอยประสานตรงกลาง ส่วนเมล็ดแบนกว้าง 0.2 ซม. ยาว 1 ซม.
ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด ในพื้นที่ดินร่วนและชุ่มน้ำ
"นายสวีสอง"