
พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง - บ้านหนู
ไม่ต้องไปสงสัยว่าหนูไหน ? หนูของใคร ? นะครับ เป็นเรื่องที่อยู่ที่เลี้ยงสัตว์ตระกูลหนู หรือพวกฟันแทะที่ฝรั่งเรียกว่า Rodents ที่ปัจจุบันนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงกันอย่างแพร่หลายนับจากหนูถีบจักร หรือหนูเม้าส์ (Mouse) หนูใหญ่หรือหนูแรท (Rat) หนูตะเภาหรือหนูแกสบ
หลายๆ ท่านถามมาเสมอว่า “บ้านหนู” จะหนูอะไรก็ตามที่ท่านเลี้ยงอยู่ ควรมีขนาดหรือพื้นที่ใหญ่โตแค่ไหนจึงจะเหมาะสม ? เอาเกณฑ์อะไร ? จากที่ไหนมาใช้ ?
ผมก็เที่ยวเสาะหามาให้โดยใช้ขนาดที่เขาแนะนำไว้ในคู่มือการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองของสภาวิจัยแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ.1996 ซึ่งแม้ว่าเขาใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหนูชนิดต่างๆ ที่ใช้เป็นสัตว์ทดลองก็ตามแต่ก็ถือเป็นบรรทัดฐานที่จะนำไปใช้กับหนูๆ ที่เราเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี ลองดูครับ
ขนาดกรง
ชนิดสัตว์ น้ำหนักตัว พื้นที่/ตัว ความสูง
(กรัม) (ตร.เซนติเมตร) (เซนติเมตร)
หนูถีบจักร น้อยกว่า 10 39 13
10-15 52 13
15-25 77 13
มากกว่า 25 มากกว่า 97 13
พ่อแม่พันธุ์ 406 13
หนูใหญ่ น้อยกว่า 100 110 18
(หนูแรท) 100-200 148 18
200-300 187 18
300-400 258 18
400-500 378 18
มากกว่า 500 452 18
พ่อแม่พันธุ์ 1000 18
หนูตะเภา น้อยกว่า 350 387 18
(หนูแกสบี้, หนูเควี่) มากกว่า 350 652 18
พ่อแม่พันธุ์ 1161 18
หนูแฮมสเตอร์ น้อยกว่า 60 65 15
60-80 84 15
80-100 103 15
มากกว่า 100 123 15
พ่อแม่พันธุ์ 968 15
หนูเจอร์บิล มากกว่า 60 232 15
พ่อแม่พันธุ์ 1161 15
ชินชิลล่า มากกว่า 300 1650 90
พ่อแม่พันธุ์ 3716 142
ขอให้เอาไปใช้ประโยชน์ทั้งคนเลี้ยง และคนเพาะพันธุ์หนูนะครับ!
ปานเทพ รัตนากร