ไลฟ์สไตล์

เปิดโลกการศึกาษามุสลิมตอน : มุสลิมยุคใหม่กับจุฬาราชมนตรี

เปิดโลกการศึกาษามุสลิมตอน : มุสลิมยุคใหม่กับจุฬาราชมนตรี

26 พ.ค. 2553

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอเรื่องจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ของไทย คุณอาศิส พิทักษ์คุมพล ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองในหลายๆ กระแสไม่ ว่าจะเป็นการเริ่มทำงานในตำแหน่งนี้ การวางรูปแบบการบริหารงานและนโยบายส่วนรวม ไม่ว่าจะในส่วนพัฒนาสังคมมุสลิมหรือการมีส่วน

 แน่นอนสิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นหลักและไม่อยากให้กลายเป็นประเด็นรองนั่นคือ การจัดการระเบียบการของนักศึกษาอิสลามที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศไม่ว่าจะในประเทศใดก็ตาม โดยเฉพาะประเทศอียิปต์ เพราะนักศึกษาไทยมุสลิมมาเรียน ที่จบระดับมัธยมปลายศาสนาในประเทศไทยได้เดินทางมาศึกษาต่อยังประเทศอียิปต์มาก ปัจจุบันนี้มีนักศึกษาประมาณ 2,000 กว่าคน ซึ่งแต่ละปีจะมีนักศึกษาใหม่ๆ ขึ้นมาประมาณ 500 กว่าคนจากทุกจังหวัดของไทย

 ปัจจุบันการศึกษาอิสลาม หรือนักศึกษาอิสลามที่เรียนในระดับอุดมศึกษาไม่ว่าจะในต่างประเทศหรือในประเทศต่างก็มีความคิดที่แหวกแนวออกไปจากเดิม โดยเฉพาะนักศึกษาในประเทศอียิปต์จากเดิมที่เคยศึกษาเรื่องศาสนาเป็นหลัก ทุกคณะของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรจะมีวิชาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งหมดล้วนแล้วจะอยู่ในเรื่องของศาสนาโดยใช้ภาษาอาหรับในการเรียนการสอน

  เป้าหมายหลักของนักศึกษาเหล่านี้คือการสอนหนังสือซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องสานต่อจากท่านศาสดามูฮัมหมัด ศาสดาองค์สุดท้ายของอิสลามหรือเผยแผ่อิสลาม ส่วนเรื่องที่จะกลับไปทำงานในตำแหน่งต่างๆ อย่างเช่นบริษัท  ราชการ หรือเอกชน แทบที่จะไม่มีในความคิดของนักศึกษาอิสลามเลยแม้แต่น้อย จึงทำให้หลายสังคมคิดว่าการศึกษาอิสลามมันแคบเกินไป ไม่มีทางที่จะสร้างความมั่นคงและก้าวหน้าให้กับชีวิตตัวเองได้

            ปัจจุบันนี้นักศึกษาศาสนาไทยมุสลิม มีความก้าวหน้า มีความคิดที่กว้างไกลและเทียบเท่านักศึกษาสายสามัญในเรื่องของความสามารถ และการเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน เป็นเพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความสำคัญและช่วยกันแก้ไขชี้แนะแนวทางให้นักศึกษาเหล่านี้มีทางเดินที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนอกเหนือจากความฝันที่เป็นอยู่ในอดีต ซึ่งนี่คือสิ่งที่ดีที่สุด
 
          เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 ผมมีโอกาสเข้าไปนั่งฟังนายสุรพงษ์ ชัยนาม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายประวิตร์ ชัยมงคล อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขานุการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเอกอัครราชทูต นายชลิต มานิตยกุล เปิดประตูทำเนียบต้อนรับคณะเพื่อทำการปรึกษาหารือกับคณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในกรุงไคโร ในเรื่องความก้าวหน้าและสานฝันให้เป็นจริงของนักศึกษาศาสนา

        นายสุรพงษ์บอกว่าอยากให้ศึกษาศาสนาอย่างเต็มที่และต้องการให้คุณมองลู่ทางอื่นที่สอดคล้องไปด้วยในเรื่องการศึกษาเพื่ออนาคตของการทำงาน การศึกษาต้องศึกษาอย่างจริงจริงโดยเฉพาะภาษาอาหรับหากมีโอกาสก็ต้องเรียนรู้ ฟัง อ่าน และพูดได้อย่างดี คิดว่าน่าจะนำไปสู่การมีงานทำที่ดี นอกเหนือจากที่เป็นครูสอน

        ขณะที่นายชลิตเสริมเรื่องการจบการศึกษาของน้องๆ นักศึกษาเหล่านี้ ควรที่จะได้รับการเทียบวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อที่จะมีแนวทางใหม่ในการศึกษาต่อในสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนาได้ เรื่องนี้จะเป็นอีกเรื่องที่สำคัญและช่วยสร้างฝัน ต่อยอดการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีได้

       การปรึกษาหารือกันในหลายๆ ฝ่ายวันนี้ ได้เกิดข้อมูลใหม่เกิดขึ้นและเป็นการขอช่องทางเพื่อสานฝันของนักศึกษาเหล่านี้ให้เจริญงอกงามต่อยอดยิ่งขึ้น จากที่เคยก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาแล้ว ต่อไปจะเห็นดอกเห็นผลของคำว่านักศึกษาศาสนา ที่ทุกคนสงสัยให้หายเสียที

       หากวันนี้ท่านจุฬาราชมนตรีคนใหม่ ซึ่งเป็นความหวังของพี่น้องมุสลิมและลูกหลานมุสลิม วางรากฐานสร้างข้อมูลสร้างความกระจ่างให้ชัดเจนอย่างเปิดเผยในเรื่องของอิสลาม โดยเฉพาะการศึกษาให้คนไทยทุกศาสนาได้เข้าใจเห็นภาพอย่างแท้จริง คิดว่าศาสนาจะเป็นเรื่องที่น่าจะนำมาซึ่งการสร้างความเคารพระหว่างกัน โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วนร่วมสร้างฝันให้แก่นักศึกษาที่ศึกษาทั้งในประเทศและประเทศต่างๆ อย่างมีเป้าหมายชัดเจน ไม่อยากได้ยินคำว่า หน้าที่จุฬาราชมนตรีแค่นั่งประทับตราเอกสารและดูเดือนเท่านั้นจริงๆ