Lifestyle

ทำความรู้จัก 'MRI' แบบยืน ทางเลือกใหม่ของคนปวดหลัง แต่ 'กลัวที่แคบ'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์เฉพาะทางแนะวิธีหาต้นเหตุอาการ 'ปวดหลัง' ด้วยเครื่อง 'MRI' แบบยืน ชี้ทำให้มองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ ตอบโจทย์คน ปวดหลัง แต่ กลัวที่แคบ

สำหรับใครที่มีปัญหากลัวที่แคบ ส่งผลให้การค้นหาสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังเป็นไปได้ยาก ตอนนี้มีโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ด้วยเครื่อง MRI แบบยืน เนื่องจากลักษณะตัวเครื่องจะเปิดโล่งด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งต่างจาก MRI แบบอุโมงค์ จึงช่วยให้ผู้ป่วยที่รู้สึกกลัวที่แคบสามารถเข้ารับการตรวจได้แบบไร้กังวล

 

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค

 

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า จากผลสำรวจการใช้งานเครื่อง MRI ทั่วโลกในปี 2018 พบว่า ความเหมาะสมในการตรวจโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังมาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ สมอง เนื่องจากเครื่อง MRI ให้รายละเอียดและความคมชัดสูงระดับ 3 มิติ (3D) ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ที่สำคัญการตรวจด้วยเครื่องมือชนิดนี้ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกายและไม่มีอันตรายจากรังสี การตรวจด้วยเครื่อง MRI จะต้องใช้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กแรงสูง เพื่อให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน และด้วยข้อจำกัดทางด้านเทคนิคจึงทำให้การออกแบบเครื่อง MRI มีพื้นที่ของการสแกนแคบ ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดและเกิดภาวะกลัวที่แคบได้ ทั้งนี้ในบางกรณีการตรวจด้วยท่านอนอาจไม่พบความผิดปกติของรอยโรค เพราะผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดในท่านั่งหรือยืน

 

ทำความรู้จัก 'MRI' แบบยืน ทางเลือกใหม่ของคนปวดหลัง แต่ 'กลัวที่แคบ'

 

 

ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีผู้คิดค้นสนามแม่เหล็กแบบใหม่ที่สามารถเข้าไปยืนหรือนั่งตรวจได้ (Weight Bearing MRI) เพื่อให้น้ำหนักกดลงในลักษณะแนวดิ่งเสมือนการยืน ทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพการตรวจที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วยได้มากขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะกลัวที่แคบก็สามารถทำการตรวจได้ เนื่องจากผู้พัฒนาสนามแม่เหล็กในแนวดิ่งได้ออกแบบให้สนามแม่เหล็กมีขนาดเล็กลง ทำให้ตัวเครื่องสามารถหมุนได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อสร้างภาพได้ทั้งขณะนอนและยืน

 

ทำความรู้จัก 'MRI' แบบยืน ทางเลือกใหม่ของคนปวดหลัง แต่ 'กลัวที่แคบ'

 

อย่างไรก็ตาม นพ.ธนวัฒน์ ยังเผยอีกว่าการตรวจจะขึ้นอยู่กับผู้ที่เข้ารับการตรวจว่ากลัวที่แคบมากน้อยเพียงไร โดยเจ้าหน้าที่จะทำการซักถามและประเมินอาการ หลังจากนั้นจะพาเข้าไปดูเครื่อง MRI พร้อมอธิบายลักษณะการทำงานและขั้นตอนในการตรวจเบื้องต้นก่อน เนื่องจากการตรวจในแต่ละส่วนนั้นจะมีความแตกต่างของการจัดท่าทางของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน เช่น กรณีที่ผู้ป่วยทำการตรวจในส่วนของศีรษะหรือคอ ตำแหน่งของศีรษะหรือคอต้องอยู่กึ่งกลางของตัวเครื่อง ดังนั้นถ้าหากท่านทราบมาก่อนว่า กลัวที่แคบ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบในวันที่นัดตรวจ เพื่อจะได้ประเมินการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

 

ทำความรู้จัก 'MRI' แบบยืน ทางเลือกใหม่ของคนปวดหลัง แต่ 'กลัวที่แคบ'

 

สำหรับข้อดีของ MRI แบบยืนนั้น จะมีรูปร่างและลักษณะของเครื่องที่เปิดโล่งด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง อีกทั้งยังสามารถปรับความชันของระดับเตียงให้อยู่ในรูปแบบท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ท่ากึ่งนั่งกึ่งยืน ท่าก้มหรือท่าแอ่นหลังได้ เพื่อให้เห็นลักษณะการเคลื่อนของกระดูกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และใช้ระยะเวลาในการตรวจสั้น ทำให้แพทย์มองเห็นการกดทับหรือความเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และยังสามารถสแกนกระดูกสันหลังเป็นภาพ 3 มิติ (3D) เพื่อวัดระยะต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในตำแหน่งที่สำคัญๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ

 

ทำความรู้จัก 'MRI' แบบยืน ทางเลือกใหม่ของคนปวดหลัง แต่ 'กลัวที่แคบ'

 

อย่างไรก็ตามปัจจุบันเครื่อง MRI ที่มีใช้อยู่ทั่วโลกประมาณ 90% จะเป็นแบบอุโมงค์ ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบยืนที่มีจำนวนจำกัด แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของเครื่อง MRI แบบยืน จึงนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำและตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างยั่งยืน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ