Lifestyle

"ปวดหลัง" รีบรักษา ก่อนลุกลามสู่ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปวดหลัง" เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของทุกคน แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าสู่ภาวะการผ่าตัดเพราะกว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ปวดหลังธรรมดา แต่กลับกลายเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ก็สายเกินไปเสียแล้ว

“ปวดหลัง” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของคนในยุคปัจจุบัน เพราะโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของทุกคน บางคนเมื่อมี อาการปวดหลัง หากโชคดีเพียงกินยาหรือทำกายภาพบำบัดก็หาย แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าสู่ภาวะการผ่าตัดเพราะกว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ปวดหลังธรรมดาแต่กลับกลายเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ก็สายเกินไปเสียแล้ว ดังนั้นการสังเกตตัวเองและเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะทำให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดไม่ต้องคิดไปเองว่านี่คืออาการปวดหลังธรรมดาที่เกิดจากกล้ามเนื้อ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือไม่ 

 

"ปวดหลัง" รีบรักษา ก่อนลุกลามสู่ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

 

นายแพทย์ ชุมพล คคนานต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยหลายรายมักมาปรึกษาแพทย์ด้วย อาการปวดหลัง และปวดสะโพกร้าวลงขา ซึ่งพบว่าผู้ป่วยบางรายยังสับสนว่า ปวดหลัง ธรรมดาหรือปวดสะโพกร้าวลงขากันแน่ ในขณะที่บางรายมาด้วยอาการเดินลำบาก ใส่รองเท้าแล้วหลุดออกจากเท้าตลอด  อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าคุณกำลังป่วยด้วย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

 

นายแพทย์ ชุมพล คคนานต์

 

นายแพทย์ ชุมพล ยังอธิบายเพิ่มเติมถึงเรื่องตำแหน่งปลิ้นของหมอนรองกระดูกส่วนเอวอย่างน่าสนใจว่า ปกติกระดูกสันหลังส่วนเอว จะประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น (เรียก L1-L5) และด้านล่างของส่วนเอวคือก้นกบ ซึ่งแต่ละข้อจะมีเส้นประสาทวิ่งออกมาจากตัวไขสันหลัง แต่ละอันจะวิ่งไปเลี้ยงในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้ามีปัญหาที่เส้นประสาทในตำแหน่งไหน จะทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการของตำแหน่งที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทเส้นที่ 5 ซึ่งโดยปกติเส้นที่ 5 เลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้กระดกนิ้วโป้งเท้า หากมีปัญหาผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เพราะกระดกนิ้วเท้าไม่ขึ้น แต่จะมาด้วยอาการเดินลำบาก เดินแล้วรองเท้าหลุดออกจากเท้าไม่สามารถใส่รองเท้าแล้วเดินได้ปกติ

 

"ปวดหลัง" รีบรักษา ก่อนลุกลามสู่ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกที่ปลิ้นส่วนใหญ่จะเกิดที่ข้อ L4-5 และ L5-S1 ในส่วนบริเวณก้นกบ และพบว่าคนส่วนใหญ่มีอาการที่ตำแหน่งนี้ถึง 90% หาก หมอนรองทับเส้นประสาท ที่ตำแหน่งข้อ L4-5 จะปรากฎอาการปวดที่บริเวณสะโพกร้าวลงขา โดยตำแหน่งจากสะโพกไปที่ต้นขาด้านนอกและลงมาที่บริเวณน่อง สิ้นสุดที่นิ้วโป้งเท้า แต่ถ้าหากหมอนรองทับเส้นประสาทที่ตำแหน่ง L5-S1 ตำแหน่งการปวดจะอยู่ที่บริเวณต้นขาด้านหลังลงมาที่บริเวณน่องด้านหลังวิ่งไปที่นิ้วก้อยเท้า แต่หากเป็นที่ส่วนตำแหน่ง L3 L4 จะพบน้อยมาก 

 

"ปวดหลัง" รีบรักษา ก่อนลุกลามสู่ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

 

นายแพทย์ชุมพล ยังเผยว่า หากเราวิเคราะห์ได้ตรงจุด ก็จะสามารถรักษาและได้ผลลัพธ์ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเราจึงต้องใช้การเอ็กซเรย์ หรือเอ็มอาร์ไอช่วยในการวิเคราะห์โรคได้อย่างแม่นยำ ปกติการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในอดีตนั้น จะมีการผ่าตัดเปิดแผลด้านหลังที่ใกล้กับจุดที่ทำการรักษา แต่ด้วยการมองเข้าในจุดที่ทำการรักษานั้นมีขีดจำกัด จำเป็นที่จะต้องเปิดแผลกว้าง เพื่อช่วยในการมองเห็น จึงทำให้พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวในการรักษาต้องบอบช้ำ และเป็นที่มาของการพักฟื้นนาน รวมไปถึงความเสี่ยงในการติดเชื้ออีกด้วย ดังนั้นได้มีการพัฒนานำกล้องมาใช้ร่วมในการผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นจุดที่จะทำการรักษา ทำให้การเปิดแผลผ่าตัดลดขนาดลง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญและชำนาญของศัลยแพทย์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

"ปวดหลัง" รีบรักษา ก่อนลุกลามสู่ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

 

สำหรับผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มักจะมีอาการที่ทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องมาจาก อาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกร้าวลงขา ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจสามารถทนกับอาการดังกล่าวได้ แต่ในระยะต่อไปอาการจะมีมากขึ้น ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการ ปวดหลัง อาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาสาเหตุ คือสิ่งที่ดีที่สุด และเมื่อมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความพิการได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ