Lifestyle

แพทย์เตือน ไอ จาม แรง ทำ "หมอนรองกระดูกแตก" ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมอนรองกระดูกแตก" นอกจากจะเกิดจากพฤติกรรมการนั่งนาน ก้มยกของ และการเกิดอุบัติเหตุแล้ว พฤติกรรมการ ไอ จาม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกแตกได้เช่นกัน

ในยุคที่ฝุ่น PM 2.5 ยังคงแฝงตัวอยู่ในอากาศ ทำให้ใครต่อใครหลายคน มีอาการ ไอ จาม อยู่เสมอ และพบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่หลายคนยังไม่ทราบว่า หากคุณ ไอ จาม แรงๆ อาจส่งผลให้ หมอนรองกระดูกแตก ได้  เพราะเรื่องของหมอนรองกระดูกแตกนั้น นอกจากจะเกิดจากพฤติกรรมการนั่งนาน ก้มยกของ และการเกิดอุบัติเหตุแล้ว พฤติกรรมการ ไอ จาม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกแตกได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้ หมอนรองกระดูก สันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาขึ้นได้

 

นายแพทย์ ฐปนัตว์ จันทราภาส

 

นายแพทย์ ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง  เผยว่า การจามเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับสิ่งแปลกปลอมออกมาด้วยความรุนแรง กรณีจามเบาๆ อาจมีอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้าหากจามแรงๆ อัตราความเร็วอาจสูงถึง 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง  ดังนั้นเมื่อ ไอ หรือ จาม แรงๆ ในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอด และช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อ ที่อยู่รายรอบลำตัวเรา ทำให้ หมอนรองกระดูก ซึ่งมีหน้าที่รับแรงกระแทก ทำงานหนักขึ้นและเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระดูกสันหลังของเรา เมื่อเวลาเราไอหรือจาม ควรฝึกเกร็งหน้าท้องไว้ เพื่อให้หน้าท้องรับภาระน้ำหนักแทนกระดูกสันหลัง จะทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักน้อยลง และไม่เกิดภาวะ หมอนรองกระดูกแตก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้

 

โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เรารักษาโรค หมอนรองกระดูกแตก โดยขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความรุนแรง หรือระดับของการกดทับเส้นประสาท รวมถึงระยะเวลาของการเกิดอาการ ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ป่วยประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ทำการรักษาอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 4 - 6 สัปดาห์ แต่จะมีส่วนที่เหลือที่อาการอาจจะไม่ดีขึ้น เนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาทมาก ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด ด้วยวิธีการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD  ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ