Lifestyle

เปิด หลักเกณฑ์ ตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" ต้องมีเงื่อนไข-ทรัพย์สิน เท่าไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็คเงื่อนไข หลักเกณฑ์ จัดตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" ต้องมีทรัพย์สิน เท่าไร หลัง ไม่ต่ออายุ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก "ครูยุ่น"

ปฎิเสธไม่ได้ว่า ข่าวร้อน ตอนนี้ หนีไม่พ้น ข่าว มูลนิธิคุ้มครองเด็ก "ครูยุ่น" ที่ถูกระบุว่า มีการทำร้ายร่างกายและใช้แรงงานเด็ก ซึ่งล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดสมุทรสงคราม มีมติไม่ต่ออายุมูลนิธิคุ้มครองเด็กครูยุ่น โดยปล่อยให้สิ้นสภาพการเป็นสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาต เพราะเนื่องจากใบอนุญาตดำเนินการจะหมดอายุในเดือน ม.ค. 2566 ซึ่งหากมูลนิธิครูยุ่นจะยื่นขอต่ออายุใหม่ ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา ทั้งด้านจิต ร่างกาย สังคม สุขอนามัยสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาและพัฒนาการเด็ก รวมถึงต้องมีสหวิชาชีพเข้าไปร่วมพิจารณาเป็นคณะกรรมการระดับพื้นประเมิน ก่อนจะเสนอขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัด “คมชัดลึกออนไลน์” ได้รวบรวมข้อมูล หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก"

 

 

 

 

มูลนิธิคุ้มครองเด็ก มีที่มาอย่างไร

 

มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Child Protection Foundation ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2537 เพื่อป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กไทยที่ประสบปัญหาภาวะทุกข์ยาก ถูกทอดทิ้งและ “ถูกรังแกจากผู้ใหญ่ในสังคม” ปัจจุบันกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลและคุ้มครองเด็กถูกทอดทิ้ง เด็กกำพร้า โดย มูลนิธิ ถือเป็นนิติบุคลตามกฎหมาย เป็นองค์กรสาธารณะกุศลไม่แสวงหากำไรและผลประโยชน์ ดำเนินงานอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ

 

หลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

 

การขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ต้องขออนุญาตจัดตั้งกับผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มูลนิธินั้นตั้งอยู่ โดยต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท และจะอยู่ในความดูแลของสำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดที่ตั้ง ขึ้นต่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

โดยทุกปี เจ้าหน้าที่ พม.จังหวัด ต้องเข้าไปประเมินมาตรฐานของมูลนิธิ โดยมาตรฐานที่ว่า ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย  ความเป็นอยู่ของเด็ก การจัดการเรียนรู้ สุขอนามัย รายรับ-รายจ่าย และที่สำคัญ คือความปลอดภัยของเด็ก 

 

ส่วน การจัดตั้งมูลนิธิคุ้มครองเด็กครูยุ่น แรกเริ่มของการจัดตั้งมูลนิธิ มีอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ตั้งอยู่ในซอยลาดพร้าว 106 ต่อมาในปี 2544 หลังมีเงินทุนบริจาคสนับสนุน จึงย้ายเด็กมาที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในโครงการ คืนบ้านให้เด็กหลังที่ 2 บนเนื้อที่ 1.5 ไร่ เริ่มที่บ้านอัมพวา 1 ก่อนจะขยาย บ้านอัมพวา 2 ในปี 2548 ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในความดูแล  55 คน มี นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานมูลนิธิ และนายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

มูลนิธิสงเคราะห์เด็กครูยุ่น

 

แต่การดำเนินงานของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ครูยุ่นแห่งนี้ถือเป็นองค์กรสาธารณะกุศล รูปแบบนิติบุคคล ไม่แสวงหากำไร และผลประโยชน์ ใช้เงินบริจาคในการดำเนินงาน โดยไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ