Lifestyle

เช็ค 3 สัญญาณ "ดื่มน้ำ" มากเกินไป เสี่ยง อันตราย ถึงขั้น เสียชีวิต ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประโยชน์ของ "น้ำ" มีคับแก้วอยู่แล้ว แต่การ "ดื่มน้ำ" มากเกินไป กลับส่งผลเสีย เสี่ยง อันตราย ถึงขั้น เสียชีวิต ได้ เช็ค 3 สัญญาณเตือน ว่าคุณ ดื่มน้ำ มากเกินไป

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า "น้ำ" หรือ น้ำเปล่า ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิต ที่ร่างกายจะขาดไม่ได้ และน่าจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การ "ดื่มน้ำ" วันละ 8 แก้ว ดีต่อสุขภาพ แต่หลายคนอาจจะไม่คาดคิดว่า การดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินพอดี กลับส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดอาการบวม และระดับแร่ธาตุในร่างกายเกิดการเจือจางและเสียสมดุล โดยเฉพาะโซเดียม ซึ่งอาจนำไปสู่อาการผิดปกติทางร่ายกายตามมา แล้วต้องดื่มแค่ไหนถึงจะเหมาะสม หรือมีสัญญาณอะไรบ่งบอกหรือไม่ว่า คุณกำลังดื่มน้ำมากเกินไป 
 

สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลัง ดื่มน้ำ มากเกินไป

 

  • ลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นถือเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่กำลังบ่งบอกถึงการดื่มน้ำที่มากเกินไป โดยจำนวนการเข้าห้องน้ำในหนึ่งวันจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6–8 ครั้งต่อวัน 
  • ปัสสาวะเริ่มเปลี่ยนสี สัญญาณอีกอย่างที่มักพบได้เมื่อดื่มน้ำมากเกินไปคือ สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีใส ซึ่งสีของน้ำปัสสาวะในสภาวะที่ร่างกายเป็นปกติ หรือได้รับน้ำที่เพียงพอ ควรจะเป็นสีเหลืองใสอ่อน ๆ
  • พบอาการผิดปกติบางอย่างทางร่างกาย การดื่มน้ำในปริมาณมากมักไม่พบอาการผิดปกติในช่วงแรก แต่หากยังดื่มน้ำปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด และอาจเกิดอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย รวมถึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้นจนร่างกายเกิดความเครียดและอาการอ่อนเพลียตามมา

 

การดื่มน้ำมากเกินไป อาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีน้ำไปสะสมอยู่จนเกิดอาการบวม ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่อาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น อาการมึนงง สับสน ปวดศีรษะ และง่วงซึมจากการที่เซลล์ในสมองบวมจนสมองได้รับแรงกดทับ หรือบริเวณริมฝีปาก เท้า และมือ มีอาการบวมและเปลี่ยนสีไปจากการที่เซลล์บริเวณดังกล่าวบวม

 

เช็คสัญญาณ "ดื่มน้ำ" มากเกินไป

นอกจากนี้ การดื่มน้ำที่มากเกินไป อาจส่งผลให้ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ โดยเฉพาะโซเดียม ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือตะคริว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้รอบตัว โคม่าไปจนถึงการเสียชีวิตได้

 

ช่วงเวลาการดื่มน้ำให้ได้ประโยชน์

 

  • หลังตื่นนอน ดื่มน้ำ 1 แก้ว การดื่มน้ำในช่วงนี้จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และยังช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
  • ช่วงสาย ดื่มน้ำ 2-3 แก้ว โดยจะเป็นเวลา 00 น. ดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนกินอาหารเช้า 1 ชั่วโมง และถัดมา เวลา 09.00-11.00 น. ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะทำงานเต็มที่ แล้วจะเกิดของเสียขึ้น การดื่มน้ำช่วงนี้เพื่อชำระล้างของเสียออกไปจากร่างกาย
  • ก่อนมื้อเที่ยง เวลา 00 น. ให้ดื่มน้ำ 1/2 แก้ว ก่อนรับประทานอาหาร 1 ชม. ไม่ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะจะทำให้การย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควร
  • ช่วงบ่าย ดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เวลา 00-16.00 น. ให้ใช้การจิบน้ำระหว่างวันไปเรื่อย ๆ เพื่อดับกระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวพรรณ ไม่ต้องดื่มน้ำรวดเดียวทั้ง 2 แก้ว
  • ก่อนมื้อเย็น ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ซึ่งจะเป็นช่วงเวลา 00-19.00 น. ให้ดื่มน้ำก่อนอาหาร 1 ชม. 1 แก้ว และถัดมาเวลา 19.00-21.00 น.ให้ดื่มน้ำอีก 1 แก้ว โดยจิบน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดี
  • ก่อนนอน ดื่มน้ำ 1 แก้ว ควรเข้านอนเวลา 00 น. หรือไม่เกินเที่ยงคืน เพื่อชำระล้างสิ่งที่ตกค้างในลำไส้

 

              ผลเสีย ดื่มน้ำมากเกินไป

 

วิธีเช็ค ดื่มน้ำ อย่างไรให้พอดี

 

เบื้องต้นอาจลองคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมได้จากการนำน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วย 30 ก็จะได้ปริมาณน้ำหน่วยเป็นลิตรที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะดื่มน้ำให้ได้ประมาณวันละ 1.66 ลิตรต่อวัน  

 

ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการดื่มน้ำ

 

  • อายุ 4-8 ปี 5 แก้วต่อวัน
  • อายุ 9-13 ปี 7-8 แก้วต่อวัน 
  • อายุ 14-18 ปี 8-11 แก้วต่อวัน
  • ผู้หญิงที่อายุ 19 ปีขึ้นไป 9 แก้วต่อวัน
  • ผู้ชายที่อายุ 19 ปีขึ้นไป 13 แก้วต่อวัน

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เสียเหงื่อมากเป็นประจำ สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร มีไข้ มีอาการอาเจียน ท้องเสีย กำลังป่วยเป็นโรคบางชนิด และคนที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเล็กน้อย หรือดื่มตามคำแนะนำของแพทย์

 

ทั้งนี้ แม้จะคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมอย่างคร่าว ๆ ในแต่ละวันมาแล้ว แต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มน้ำในระหว่างวันให้เหมาะสม โดยอาจสังเกตจากสัญญาณของร่างกาย อย่างความรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งการดื่มน้ำที่ดีควรจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปในเวลาสั้น ๆ หรือดื่มน้ำมากกว่า 1 ลิตรภายใน 1 ชั่วโมงติดต่อกัน

 

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ