Lifestyle

"วันลอยกระทง 2565" เปิด คำอธิษฐาน คำ ขอขมา พระแม่คงคา วันลอยกระทง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วันลอยกระทง 2565" ประเพณีลอยกระทง ที่สืบต่อมายาวนาน มี คำอธิษฐาน และ คำ ขอขมา พระแม่คงคา อย่างไร ต่างประเทศ มี วันลอยกระทง หรือไม่

"วันลอยกระทง" หรือ ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ส่วน "วันลอยกระทง 2565" ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน โดยจะมีการนำ ดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งของใส่ลงในกระทงแล้วนำไปลอยน้ำ ซึ่งเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชา และ อธิษฐาน ขอขมาพระแม่คงคา "ลอยกระทง" จึงนับเป็นเทศกาลสำคัญในประเทศไทย ที่มีความหมายมาอย่างยาวนาน 

ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะมีขึ้นเพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงการขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปแล้ว นอกจากนี้ ตามความเชื่อของคนไทย วันลอยกระทงจะเป็นการลอยทุกข์โศก สิ่งอัปมงคล โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ให้ออกไปจากชีวิต พร้อมกับกล่าวคำขอขมาระหว่างลอยกระทง และอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปพร้อม ๆ กันด้วย 

 

คำอธิษฐาน สำหรับ วันลอยกระทง 2565

 

  1. ข้าพเจ้า ชื่อ...นามสกุล...ขอถวายบูชาแด่พระแม่คงคา ด้วยกระทงประทีปนี้ ขอพระแม่คงคา เมตตารับการบูชาด้วย จากลูกผ้มีใจภักดี ผู้ตระหนักในความกรุณาปราณี ที่ท่านให้โดยตลอดมา โปรดรับขอขมาจากลูกผู้เอ่ยวาจา ณ ครานี้ หากสิ่งใดผิดพลาดเกิดมี ขอพระแม่คงคา ปราณีให้อภัย และขอพรพระแม่คงคา ผู้มีมหาเมตตาเป็นที่สุด โปรดนำพาความมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความสำเร็จ มาให้แก่ลูกผู้ภักดี ณ ครานี้ด้วยเทอญ สาธุ
  2. ตั้งนะโม 3 จบ (นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ)  มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

 

คำแปล - ข้าพเจ้าขอบูชารอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่ริมหาดทรายแม่น้ำนัมมทา ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปกระทงนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

คำอธิษฐาน วันลอยกระทง

คำขอขมาพระแม่คงคา

 

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

 


ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภูมิภาค

 

ภาคกลาง

 

จัดขึ้นทุกจังหวัดตามสถานที่สำคัญ อาทิ งานภูเขาทอง กรุงเทพมหานคร เป็นงานในรูปแบบงานวัด จัดขึ้นก่อนวันลอยกระทง 7-10 วัน ,งานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่า บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ภาคเหนือ

 

นิยมทำโคมลอย เรียกว่า ลอยโคม หรือ ว่าวลม ชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (จังหวัดเชียงใหม่) กระทงสาย (จังหวัดสุโขทัย) งานขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

  • กำหนดการ งานวันลอยกระทง 2565 เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2565‘ พบกับ การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง เวลา 22.00 น. ของทุกวันตลอดระยะเวลาการจัดงาน ณ ตระพังตะกวน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งเเต่ 29 ตุลาคม-8 พฤศจิกายน 2565 พิกัด อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ภาคอีสานในอดีต เรียกวันลอยกระทงว่าสิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยมีจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ชื่อว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” มีการแห่กระทงประทีป 12 หัวเมือง การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ ฯลฯ

 

ภาคใต้

 

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จะมีการจัดงานวันลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่น ที่จะมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป

วันลอยกระทง 2565

 

ต่างประเทศมีประเพณีลอยกระทงหรือไม่

 

บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น

 

  • ประเทศลาว มักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ในงานไหลเฮือไฟของลาว
  • ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวง กลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็ก และบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำ และกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่า เพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน
  • ประเทศเมียนมาร์ ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่า เป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ