Lifestyle

"ไบโพลาร์" โรคเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สำรวจ 7 สัญญาณเข้าข่ายผู้ป่วย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จักโรค "ไบโพลาร์" หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว อารมณ์แปรปรวนง่าย คนไม่อยากอยู่ใกล้ สัญญาณแบบไหนถึงเข้าข่าย 

ทำความรู้จักโรค "ไบโพลาร์" หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติด้านอารมณ์ มีอารมณ์แปรปรวนง่าย บางช่วงผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์ดีมากจนผิดปกติ แต่พออีกช่วงเวลาหนึ่งก็จะสลับไปมีอาการของภาวะซึมเศร้า ภาวะอารมณ์ในแต่ละช่วงอาจคงอยู่เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน  คนที่เป็นโรคนี้ มักจะทำให้เกิดความยากลำบากในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และด้านสังคม และสัญญาณแบบไหนถึงเข้าข่าย "ไบโพลาร์" วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ จะพาไปดูกัน

8 สัญญาณเข้าข่าย เป็น "ไบโพล่าร์"

 

1. อารมณ์ดีมากเกินไป 

  • อาจฟังดูแปลกแต่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน แน่นอนว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า  

 

2. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ – ไม่คิดหน้าคิดหลัง

  • เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน (Manic Episode) เขามักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาในภายหลัง บ่อยครั้งที่โรคไบโพล่าร์เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงหรือใช้เงินฟุ้มเฟือยอย่างน่ากลัว 

 

3. หงุดหงิดง่าย
บางกรณี คนที่เป็น "ไบโพล่าร์" อาจจะมีอาการฟุ้งพล่านและภาวะซึมเศร้าพร้อมๆกัน เมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น พวกเขาจะหงุดหงิดง่ายมาก พวกเขาอาจจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมตัวเองแต่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

 

4. พักผ่อนไม่เพียงพอ

  • เป็นเรื่องปกติที่โรค "ไบโพล่าร์" จะมีผลข้างเคียงต่อการนอนของผู้ป่วย คนที่เคยมีประสบการณ์ของภาวะฟุ้งพล่าน (Manic Episode) จะมีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแต่จะไม่เคยรู้สึกเหนื่อยล้า ในทางกลับกัน ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าจะนอนหลับมากขึ้นแต่ยังรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอยู่ดี 

 

5. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ

  • บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่างๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นงานต่างๆที่ยังค้างคายาวเป็นหางว่าวคือหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไบโพล่าร์ 

 

6. มีอาการของโรคซึมเศร้า

  • ในช่วงของโรค "ไบโพล่าร์" ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง แต่โรคไบโพล่าร์และโรคซึมเศร้าไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเดียวกันได้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

 

7. พูดเร็ว

  •  คนที่เป็น "ไบโพล่าร์" จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้าง เขามักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับคนรอบข้างที่จะเข้าใจว่าเขากำลังพูดถึงอะไรอยู่ เขาจะพูดแบบนี้ก็ต่อเมื่อพวกเขากำลังอยู่ช่วงที่มีอาการฟุ้งพล่าน (Mania Episode)

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ