Lifestyle

เที่ยว วัดตะไกร พื้นที่ตำนาน ฝังศพ นางวันทอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เที่ยวกรุงเก่า อยุธยา เดินชม วัดตะไกร พื้นที่เชิงตำนาน เสภขา ขุนช้าง ขุนแผน มีเรื่องเล่า เป็นสถานที่ฝังศพ นางวันทอง


หากเอ่ยถึง วัดตะไกร ภาพความทรงจำเกี่ยวกับ เสภา ขุนช้าง ขุนแผน จะลอยเข้ามาในความนึกคิดของหลาย ๆ คน เพราะมีการระบุไว้ว่า เมื่อมีการประหารชีวิต นางวันทอง แล้วนั้น ได้มีการนำศพนางวันทอง มาฝังไว้ที่วัดนี้ 

เมื่อมาถึง วัดตะไกร ที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนผู้คน แต่ยังร้างนักท่องเที่ยว ตามสถานการณ์ 
ผมทอดอารมณ์ เดินชมพระวิหาร อุโบสถ เจดีย์รายทั้ง 16 องค์ ซึมซับบรรยากาศ ให้หายคิดถึงวัดโบราณ 
 

วัดตะไกร ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า วัดตะไกร น่าจะสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2006 - 2170 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขึ้นมาจนถึงรัชกาล สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

สำหรับ วัดตะไกร นั้น ข้อมูลต่างๆ ไม่ได้มีมากนักว่า สร้างในสมัยไหนอย่างชัดเจน แต่จากการประเมินด้วยศิลปะที่ผสมผสานกัน คาดการณ์ว่า อย่างน้อยที่สุดต้องอยู่ในช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยาอย่างแน่นอน 

จากการศึกษาทางด้านโบราณคดี แบ่งพัฒนาการของ วัดตะไกร ได้ดังนี้ สมัยแรกสร้างได้นำดินเหนียวปรับถมพื้นที่ทั้งวัด แล้ววางผังตามแกนทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เขตพุทธาวาส มีกำแพงแก้ว ถัดจากวิหารเป็นเจดีย์ประธานแปดเหลี่ยมซึ่งมีเจดีย์รายทางทิศใต้ นอกกำแพงทิศตะวันออกมีสระน้ำจำนวน 2 สระ สร้างด้วยการก่ออิฐเป็นกรอบ

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

ยังพบโบราณวัตถุ ได้แก่ ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เตาเชิงกราน หม้อดินเผาแบบต่าง ๆ เศษภาชนะสีดำขัดมันคล้ายบาตรของพระภิกษุสงฆ์ เครื่องถ้วยลายครามจีน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21–22 สมัยที่ 2 ได้ถมดินพื้นที่เขตพุทธาวาสสูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร พบโบราณวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันภายในวัด เช่น เตาเชิงกราน ตะคันดินเผา เบ้าหลอมโลหะ ภาชนะดินเผาจากแหล่งต่าง ๆ 
 

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

สันนิษฐานว่ามีพระสงฆ์จำพรรษาตั้งแต่สมัยแรกจนถึง พ.ศ. 2310 และสมัยรัตนโกสินทร์ระหว่างรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ได้มีผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่ของวัดอีกครั้งหนึ่ง

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

สำหรับส่วนของสิ่งก่อสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันได้แก่ สระน้ำโบราณ กำแพงแก้ว พระวิหาร วิหารราย พระอุโบสถ พระเจดีย์ประธาน เจดีย์ราย มีทั้งสิ้น 16 องค์รอบพระวิหาร

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ มีตำนานเล่าขานกันว่า ในเวลา สมเด็จพระนเรศเจ้า หรือพระนเรศวรจะทรงเครื่องใหญ่ หรือการตัดผม จะทรงเสด็จมาประกอบพิธี ที่วัดแห่งนี้ ด้วยมีการเล่าลือกันว่า พระองค์มีวิชาคงกระพัน ปกป้องพระวรกาย จึงจะต้องให้พระวัดตะไกร ที่มีวิชาอาคมเข้มขลัง ประกอบพิธีทรงเครื่องใหญ่ 

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา
นอกเหนือจากเรื่องราวตำนานเสภาขุนช้าง ขุนแผนแล้ว วัดตะไกร ยังมีชื่อในหมู่คนเล่นพระเครื่อง เพราะมีการค้นพบพระเครื่องเนื้อดิน ในช่วงปี 2470 ไม่ว่าจะเป็น พระพิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์หน้าครุฑ หน้าฤาษี เป็นต้น 

วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Youtube - https://www.youtube.com/user/KOMCHADLUEK/
Tiktok - https://www.tiktok.com/@komchadluekonline
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่   https://awards.komchadluek.net/#
 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ