"คืนชีพ เจดีย์หลวง " จัดแสดงฉายแสง พระธาตุเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ จับมือ นักวิชาการ จัดแสดงแสงสีคู่โบราณสถาน องค์พระธาตุเจดีย์หลวง ทรงคุณค่าคู่นครพิงค์
เป็นอีกหนึ่งการประสานปัจจุบันกับอดีตเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทางวัดเจดีย์หลวง ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางแฟนเพจทางการ ข้อมูลระบุว่า ได้มีการจัดงานกิจกรรม คืนชีพ “พระธาตุเจดีย์หลวง” ที่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ด้วยแสง Projection เมื่อศาสนาและเทคโนโลยีมาเจอกัน จึงเกิดความงามที่ล้ำสมัย “ต่อยอด แสงหลวง” เป็นงานจัดแสดง แสง สี เสียงด้วยเทคโนโลยี Projection เพื่อเติมเต็มความสูงขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่ปี 2562 และพัฒนาเรื่อยมา จนปรากฎให้เห็นผ่านสื่อกันไปแล้ว และปีนี้กำลังจะถูกจัดแสดงอีกครั้ง
โดยงานนี้จะจัดแสดงอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565 และคืนวันอาทิตย์ ตลอดเดือน สิงหาคม กันยายน ที่พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับการจัดแสดงการทดลองแสงหลวงโชติการาม พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565 เวลา 20.00 น.เป็นต้นไป การแสดง มี 4 รอบ 20.00 - 20.30 น. , 20.30 - 21.00 น. 21.00 - 21.30 น.และ 21.30 - 22.00 น. เข้าชมฟรี
สำหรับวัดเจดีย์หลวงนั้น แต่เดิมชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าในกาลครั้งหนึ่งเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีชายผู้หนึ่งอายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้าตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายเอาข้าวของบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า จึงก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการะบูชา
โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่
ส่วนพระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้น ถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา
ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2,000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี
ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ
ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535
ขอบคุณภาพและข้อมูล : วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่ Wat Chedi Luang Chiang Mai - ผศ.ดร. บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล ศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (CLIC) สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่