Lifestyle

ภัยร้าย "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" แทรกซ้อน กระตุ้นเสียชีวิต เฉียบพลัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" ภัยเงียบแทรกซ้อนหลังโรคประจำตัวรักษาไม่ต่อเนื่องเสี่ยงเสียชีวิตสูงมาก หมอแนะวิธีสังเกตตัวเองง่าย ๆ รู้ก่อนป้องกันตายเฉียบพลัน

จากกรณีการเสียชีวิตของ "ซันนี่ ยูโฟร์" โดยผลการชันสูตรศพเผยว่าเสียชีวิตจากภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว นพ. ศรัณย์พงศ์ ภิบาลญาติ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ โรงพยาบาลวิมุต ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึกออนไลน์ เกี่ยวกับ ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" ว่า ภาวะดังกล่าวเกิดจาก ภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะโรคเบื้องหลัง หลังจากนั้นจึงส่งผลมายังระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างทั่วถึงส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน  โดยพบว่าในประชาชนที่อายุมากมักจะเกิด ภาวะ ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ส่วนในคนที่อายุน้อย

มักจะเกิดภาวะดังกล่าวในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจตั้งแต่กำเนิด  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจรั่วรุนแรง หรือในมักจะเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรค ไทรอยด์เป็นพิษ และไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานติดต่อกัน  ส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติ และทำงานหนักมากจนเกินไปจึงทำให้เกิด ภาวะ หัวใจล้มเหลว ได้ในที่สุด ทั้งนี้ ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" ถือว่าเป็นโรคร่วมที่มักจะเกิดขึ้นตามหลังโรคประจำตัว หรือโรคเบื้องหลังที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้นั้น จะเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจ  

นพ.ศรันย์พงศ์ กล่าวต่อว่า โรคหัวใจล้มเหลว จนส่งผลกระทบมาสู่การทำให้เกิด ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" นั้น ถือว่าเป็นโรคที่รุนแรงและน่ากลัว เนื่องจากโรคดังกล่าวถือว่าเป็นภัยเงียบที่ส่งผลให้เกิดอัตราการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันทั้งในผู้สูงอายุ และคนทั่วไปจำนวนมาก  ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวจะไม่มีการแสดงอาการของโรคออกมาอย่างชัดเจน และมักจะเกิดแทรกซ้อนหลังจากที่โรคเบื้องหลังเริ่มมีอาการหนักขึ้น หรือขาดการรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน  โดยอาการที่พบทั่ว ๆ สำหรับระยะเริ่มแรกจะมีอาการดังนี้ เหนื่อยง่าย เพียงแค่ทำกิจกรรมเบา ๆ ร่างกายจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยไวขึ้น เดินได้สั้นลง เดินขึ้นบันใดแทบจะไม่ไหว ในกลุ่มที่อาการรุนแรงอาจจะเกิดภาวะนอบราบไม่ได้ ท้องอืด รวมถึงภาวะตับโต 

นพ.ศรันย์พงศ์ รพ.วิมุต

สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะเผชิญกับภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เรียงตามอัตราความเสี่ยงจากมากไปหาน้อย ดังนี้  

  • เสี่ยงมากที่สุด กลุ่มผุ้สูงอายุ  
  • เสี่ยงรองลงมา คือ กลุ่มที่มีโรคร่วม เช่น ไทยรอยด์เป็นพิษ โรคหลอดเลือด  ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โดยกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ  โดยพบว่าหลังจากที่โรคเบื้องหลังผ่านไป 3-5 ปี อาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้  
  • เสี่ยงต่ำ คือ กลุ่ม คนอายุน้อย แต่มีประวัตครอบครัวเคยเสียชีวิตจาก ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยในผู้ป่วยกลุ่มบางครั้งจะไม่เกิดข้อบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าว ดังนั้นจะต้อสังเกตุอาการตัวเองในเบื้องต้น หากพบผิดปกติจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที 

แนวทางในการป้องกันและรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว และ ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" เบื้องต้น   ผู้ป่วยที่มีโรคเบื้องหลัง หรือ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเสียชีวิต หรือเป็นโรคดังกล่าว สามารถตรวจสอบได้โดยการตรวจร่างกายทำการเอ็กซเรย์ปอด  ตรวจวัดคลื่นกหัวใจไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบว่ามีภาวะผิดปกติในเบื้องต้นหรือไม่ หรือหากเป็นผู้ที่มีโรคเบื้องหลังจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไมให้โรคประจำตัวไปกระตุ้นให้เกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว จนนำไปสู้ภาวะ "ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว" 

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สังเกตอาการของตัวเองโดยเบื้องต้น เช่น เหนื่อยง่ายขึ้น หายใจผิดปกติ อัตราการเต้นหัวใจเร็วขึ้นรือไม่  หากมีอการผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวจนนำไปสู่การเสียชีวิต 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ