Lifestyle

"ประติมากรรม" หินสลัก 130 ตัว สมัย ร.5 ขุดเจอที่ วัดพระแก้ว ตุ๊กตาหิน จัดเสมือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผยที่มาประติมากรรมหินอ่อน ขุดค้นพบในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ระบุที่ มาจากกวางตุ้ง-กวางโจว นำเข้ามาสมัยฉลองกรุงเทพฯ 100 ปี ล่าสุดนำมาจัดโชว์เสมือนอดีตกว่า 100 ปี

จากกรณี แฟนเพจที่เกี่ยวข้องหรือนำเสนอเรื่องราววัตถุโบราณ ประวัติศาสตร์ ได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายของตุ๊กตาหิน ที่ถูกนำมาวางในส่วนต่าง ๆ บริเวณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางนั้น

ประติมากรรมหินอ่อนรูปบุคคล หน้าระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจาก ศูนย์ภาพเนชั่น


ล่าสุด หน่วยราชการในพระองค์ เผยถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับประติมากรรมหินสลักที่นำมาจัดแสดงหรือวางในบริเวณต่าง ๆว่า เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในระหว่างการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณ "ประตูมณีนพรัตน์" ไปยัง "ประตูสวัสดิโสภา" เจ้าหน้าที่ได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ และประติมากรรมสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัว ระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว

"ประติมากรรม" หินสลัก 130 ตัว สมัย ร.5 ขุดเจอที่ วัดพระแก้ว ตุ๊กตาหิน จัดเสมือน
 

จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอาราม และมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อ ๆ กันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประติมากรรมหินอ่อนรูปบุคคล หน้าระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจาก ศูนย์ภาพเนชั่น


การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บริเวณตำแหน่งเดิม หรือใกล้เคียงตามหลักฐานที่ปรากฏ

ประติมากรรมหินอ่อนรูปบุคคล หน้าระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจาก ศูนย์ภาพเนชั่น

สำหรับประติมากรรมหินสลัก รูปบุคคลที่ขุดพบบริเวณกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีจำนวน 130 ตัว มีรูปร่างลักษณะหลากหลายเชื้อชาติสัญชาติ อาทิ ชาวสยาม แขก ฝรั่งฯลฯ มีทั้งหญิงและชาย ลักษณะประติมากรรมงดงามแบบธรรมชาติ น่าชมและมีความสมบูรณ์ 

ประติมากรรมหินสลักเหล่านี้มีป้ายที่มา ระบุว่ามาจากพื้นที่ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งในปัจจุบันคือ บริเวณเมืองซัวเถา ถิ่นฐานชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาอยู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และยังเป็นบ้านเกิดของพระชนกนาถในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

ภาพเปรียบเทียบ อดีต - ปัจจุบัน


ประติมากรรมหินอ่อน 130 ตัว ยังมีการอ้างอิงในหนังสือของ "คาร์ล บ็อค" นักสำรวจธรรมชาติวิทยาที่ได้เดินทางเข้ามาในสยามและบอกเล่าถึงเรื่องราวของการบูรณะ วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่เพื่อเตรียมฉลองการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคาร์ล บ็อค ได้ระบุถึงการซื้อประติมากรรม ตุ๊กตาหินอ่อนมาประดับโดยรอบพระอุโบสถในครั้งนั้นด้วย 

ประติมากรรมหินอ่อนรูปบุคคล หน้าระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจาก ศูนย์ภาพเนชั่น


และผู้เป็นธุระในการสรรหาเครื่องศิลา ประติมากรรมหินอ่อน กระถางต้นไม้ ต่างๆเพื่อนำมาประดับโดยรอบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเที่ยง

ประติมากรรมหินอ่อนรูปบุคคล หน้าระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจาก ศูนย์ภาพเนชั่น

 

"ประติมากรรม" หินสลัก 130 ตัว สมัย ร.5 ขุดเจอที่ วัดพระแก้ว ตุ๊กตาหิน จัดเสมือน

 

"ประติมากรรม" หินสลัก 130 ตัว สมัย ร.5 ขุดเจอที่ วัดพระแก้ว ตุ๊กตาหิน จัดเสมือน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ