Lifestyle

"อาการลองโควิด" กระทบ 6 อวัยวะภายในที่สำคัญ ดูแลอย่างไรไม่ให้โดนโจมตี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อาการลองโควิด" ส่งผลกระทบ 6 ระบบอวัยวะภายในที่สำคัญ แนะวิธีดูแล และการสังเกตความผิดปกติ ต้องทำอย่างไรเมื่อร่างกายกำลังถูกโจมตีด้วย ภาวะ Long COVID

ภาวะ Long COVID อีกหนึ่งผลข้างเคียยงที่ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมักจะประสบปัญหาหลังจากที่หายจากการติดเชื้อมาแล้ว ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ว่า ผู้ที่หายจากการติดโควิด แล้วมักจะเจอ "อาการลองโควิด" ที่ส่งผกระทบต่อ 6 ระบบร่างกาย ได้แก่ 
1.ระบบทางเดินหายใจ 44.38% เช่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด ไอเรื้อรัง 
2.ระบบสุขภาพ 32.1% เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
3.ระบบประสาท  27.33% เช่น อ่อนแรงเฉพาะที่แบบเฉียบพลัน ปวดศีรษะ หลงลืม
4.ระบบทั่วไป  23.41% เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
5.ระบบหัวใจและหลอดเลือด 22.86% เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น
6.ระบบผิวหนัง  22.8% เช่น ผมร่วง ผื่นแพ้  

โดย "อาการลองโควิด" ที่มักจะตามมาหลังจากติดเชื้อนั้นสร้างความกังวลต่อเราค่อนข้างมาก เนื่องจากระบบอวัยวะที่ ภาวะ Long COVID เข้าไปโจมตีเป็นส่วนสำคัญของระบบร่างกายอย่างมาก แต่หากได้รับการดูแล และมีการฟื้นฟูอวัยวะส่วนไม่ว่าจะเป็น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางจิตใจ ระบบสุขภาพจิต ระบบประสาท ระบบทั่วไป ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบผิวหนัง อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ 

สำหรับแนวทางการดูแล "อาการลองโควิด" กับระบบอวัยวะทั้ง 6 อย่าง สามารถทำได้ดังนี้  

1. ระบบทางเดินหายใจ  พบภาวะ ไอเรื้อรัง เนื่องจากการติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอทั้งไอแห้ง ไอมีเสมหะ บางรายไอแบบมีเลือดปนมา อาการดังกล่าวเกิดจากการที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเนื้อเยื้อทางเดินหายใจ จึงทำให้ระบบทางเดินหายใจไวต่อสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้น  โดยเฉพาะอาการไอ แต่โดยปกติแล้วอาการดังกล่าวจะสามารถหายไปเองได้ ขึ้นอยู่กับเวลาและความเสียหายของเนื้อเยื้อทางเดินหายใจ 

วิธีดูแล "อาการไอเรื้อรัง" ทำได้ดังนี้  
-ทานยาแก้ไอ เพื่อลดอาการระคายเคืองในลำคอ
-ดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ
-ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว เพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ และลดเสมหะ
-ใช้สเปย์พ่น เพื่อลดการอักเสบและลดการระคายเคืองในลำคอ
-นอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่
-ไม่อยู่ในสถานที่ ที่มีอากาศแห้งมากเกินไป เพราะอาจเกิดการระคายเคืองในลำคอได้
-หลีกเลียงบริเวณที่มีฝุ่นหรือควันเยอะ เพราะอาจทำให้อาการไอกำเริบ

2.ระบบทางเดินหายใจ หลังจากที่หายป่วยจาก โควิด พบว่า "อาการลองงโควิด" ส่วนใหญ่ที่เจอมักจะมีความเกี่ยวข้องกับหัวใจประมาณ 22.86% เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากการต่อสู้ของระบบภูมิคุ้มกัน อาการเบื้องต้นมักจะเจอภาวะ ใจสั่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย  มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอกแบบแปลก ๆ  หัวใจเต้นผิดจังหวะ   หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากภาวะลองโควิดที่กระทบระบบหัวใจไม่สามารถรักษาเองได้ ต้องให้แพทย์วินิจฉัย  

3.ระบบทั่วไป เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจและปอด ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับอ๊อกซิเจน เข้าไปได้เต็มที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ปวดตามข้อ วิธีการดูแลอย่างด่วนที่สุด ดังนี้ 
-ฝึกหายใจ เพื่อฟื้นฟูปอดให้ร่างกายได้รับอ็อกซิเจนเข้าไปเต็มปอด 
-ออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย เพื่อให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง ไม่ง่วงซึม อ่อนล้า  อ่อนเพลีย  
-พักผ่อนระหว่างวันไม่โหมทำกิจกรรมหนัก เช่น ไม่หักโหมเดินทางไกล ไม่ตากแดดนานเกินไป 
-ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เน้นโปรตีน โพรไบโอติก อาหารที่มีกากใย เลี่ยงอาหาร Junk Food  

4.ระบบประสาท สาเหตุที่ทำให้โควิด มีผลกับระบบประสาทโดยตรง มาจากภูมิคุ้มกันในตัวผู้ป่วยทำงานต่อสู้กับไวรัส จนเกิดการอักเสบกับระบบประสาทและสมอง การตรวจเช็คเบื้องต้น ว่าอาการปวดหัว อ่อนเพลีย ว่าเป็นผลกระทบเรื้อรังจากการติดเชื้อหรือไม่ ทำได้ดังนี้ 
-ปวดศีรษะ
-มึนงงสับสน
-มีอาการสมาธิสั้น
-มีอาการซึม
-มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาตามร่างกาย หรือชาแขนขา
-หน้าเบี้ยว พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด
สมองไม่โปร่ง

5.อาการที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง  โดย อาการทางผิวหนังที่เกิดขึ้นหลังจากติดโควิด เกิดจากภูมิต้านทานสร้างเม็ดเลือดขาวมาต่อสู้กับไวรัสภายในร่างกาย  มักจะทำให้เป็นผื่นคัน ผื่นนูนแดง ผื่นตุ่มใสๆ ผื่นแบบลมพิษ หรือบางรายอาจมีอาการผมร่วง
โดย วิธีการแยกระหว่างอาการทางผิวหนังปกติกับอาการผิวหนังปกติ โดยสังเกตุจากอาการผลข้างเคียงจาก Long covid อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นเป็นไข้ ตัวร้อน ปวดหัว อ่อนเพลีย  หากพบ "อาการลองโควิด" ที่มีผลกระทบจากผิวหนังให้ดูตัวเองด้วยการทาโลชัน ไม่เกาบริเวณที่คัน แต่ให้ลูบเบา ๆ ในจุดที่คันแทน 

6.อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะจิตใจ จากข้อมูลพบว่า หลังจากที่หายจากโควิดพบว่าผู้ป่วยกว่า 32.1% มีภาวะซึมเศร้าเป็นเวลานาน โดยอาจมีผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรงที่ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ และทางจิตใจที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วย  อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยป่วยโควิด และคนใกล้ชิดสามารถดูแลจิตใจหลังจากหายโควิดได้ ดังนี้ 
-หางานอดิเรกทำ  
-ทำกิจกรรม พูดคุบกับครอบครัว  
-หลีกเลี่ยงข่าว หรือสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดภาวะเครียด  
-หากยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ด้านสุขภาพจิตโดจเฉพาะ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  เพจหายแล้ว ต้องรักปอด By Imura Long  

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ