Lifestyle

"บริษัทปิดตัว" ปิดกิจการ ลูกจ้าง ได้ เงินชดเชย เท่าไร มีสิทธิได้อะไรอีกบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บริษัทปิดตัว" ปิดกิจการ ลูกจ้าง ได้ "เงินชดเชย" เท่าไร มีสิทธิได้อะไรอีกบ้าง เลิกจ้าง แบบไหน ถึงได้รับเงินชดเชยรายได้

จากกรณีข่าวช็อก บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการบันเทิง JSL ประกาศ ปิดกิจการ ปิดตำนาน 43 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อ รวมทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบอย่างมาก จนประสบปัญหาขาดทุน คมชัดลึกออนไลน์ ได้รวบรวมสิทธิที่พึงได้ สำหรับพนักงาน หรือลูกจ้าง สามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง และบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้เท่าไหร่ หาก บริษัทปิดตัว

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงได้รับเงินชดเชย

 

สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ที่ถูกเลิกจ้างหรือให้ออกจากงาน โดยไม่ได้มาจากความผิดของตน ผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน หรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่ แต่หากลูกจ้างที่ออกจากงานด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

  • ลาออกเองโดยสมัครใจ
  • ทุจริตต่อนายจ้างหรือทำความผิดอาญา
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
  • ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 
  • สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
     

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

นายจ้างปิดกิจการได้เงินชดเชยเท่าไร

 

กรณีถูกเลิกจ้างกะทันหัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง 2 ส่วน คือ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้

 

(1) ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง

สำหรับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเมื่อลูกจ้างถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดใด ๆ สำหรับเงินชดเชยที่ได้จะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

 

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่น้อยกว่า 1 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

 

(2) ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

ในส่วนของค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า "ค่าตกใจ" เป็นเงินชดเชยรายได้ที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้าง เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้สมัครใจและไม่มีการบอกล่วงหน้า

 

กรณีเลิกจ้างทั่วไป

สำหรับกรณีนี้ให้อ้างอิงตามระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินเดือน เช่น ให้เงินเดือนรอบละ 30 วัน นายจ้างต้องทำหนังสือแจ้งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน  หรือกรณีให้ค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับ 7 วัน เป็นต้น

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
 

logoline