Lifestyle

แพทย์แนะ "โรคฝีดาษลิง" ป้องกันได้ ควรห่างไกล สัตว์ฟันแทะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ปรากฎว่ามีผู้ติดเชื้อ “โรคฝีดาษลิง” ในประเทศไทย แม้มีการคัดครอง แต่โรคมีระยะเวลาฟักตัวได้ตั้งแต่ 5-7 วัน จนถึงประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการผ่านการคัดกรองเข้ามาได้

“โรคฝีดาษลิง” หรือ “Monkeypox”  เป็นโรคที่เกิดขึ้นมานานแล้ว มีถิ่นฐานเดิมในแถบทวีปแอฟริกา ซึ่งมีการระบาดอยู่เป็นระยะๆ กระทั่งเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา “โรคฝีดาษลิง” กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เมื่อมีข่าวการแพร่กระจายไปในหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

แพทย์แนะ "โรคฝีดาษลิง"  ป้องกันได้ ควรห่างไกล สัตว์ฟันแทะ

 

 

 

นพ.พัทธยา เรียงจันทร์

 

นพ.พัทธยา เรียงจันทร์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ได้ออกมาเผยข้อมูลผ่านรายการ ZAAP TODAY ถ่ายทอดสดทาง 9MCOT เมื่อก่อน โดย นพ.พัทธยา อธิบายถึง “โรคฝีดาษลิง” ไว้ดังนี้

 

แพทย์แนะ "โรคฝีดาษลิง"  ป้องกันได้ ควรห่างไกล สัตว์ฟันแทะ

 

“โรคฝีดาษลิง” นั้นมีลักษณะคล้ายกับอีสุกอีใส คือ มีอาการทางผิวหนังเป็นหลัก และเป็นโรคที่มาจากเชื้อไวรัสเหมือนกันแต่มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันคือ โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่อีสุกอีใสติดต่อจากคนสู่คน “โรคฝีดาษลิง” สามารถแพร่เชื้อได้ 2 วิธี คือ

 

  1. ทางสารคัดหลั่ง ในการหายใจ ไอ จาม ซึ่งจะคล้ายโควิด19 แต่การติดเชื้อจากสารคัดหลั่งดังกล่าวจะไม่ติดง่ายเหมือนกับโควิด
  2. ทางผิวหนัง หากมีสะเก็ด ตุ่ม หนอง ที่ตกสะเก็ดแล้ว สามารถแพร่เชื้อผ่านตุ่มหนองหรือสะเก็ดได้

 

อาการเริ่มต้นของโรค “โรคฝีดาษลิง” จะเหมือนกับการติดไวรัสทั่วๆไป คือ มีไข้ต่ำ ถึงไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัว รวมถึงมีอาการไอเล็กน้อย สำหรับอาการที่เด่นชัด คือ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณใต้คาง ใต้คอ  ซึ่งสามารถคลำได้ด้วยตัวเอง และต่อมาจึงมีตุ่มขึ้น แต่ความรุนแรงของโรคนี้ไม่มากนัก เมื่อเป็นแล้วสามารถหายเองได้

 

แพทย์แนะ "โรคฝีดาษลิง"  ป้องกันได้ ควรห่างไกล สัตว์ฟันแทะ

 

“โรคฝีดาษลิง” เป็นโรคที่ติดจากสัตว์สู่คน และไม่ได้เกิดจากลิงเท่านั้น แต่รวมไปถึงสัตว์ฟันแทะ เช่น แพะ หนู กระรอก กระต่าย ฯลฯ ดังนั้นกลุ่มคนที่สัมผัสกับสัตว์ หรือกลุ่มสัตว์ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคตามที่กล่าวไป จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

นพ.พัทธยา อธิบายต่อว่า แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ปรากฎว่ามีผู้ติดเชื้อในประเทศไทย แม้มีการคัดครอง แต่โรคมีระยะเวลาฟักตัวได้ตั้งแต่ 5-7 วัน จนถึงประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการผ่านการคัดกรองเข้ามาได้ จึงควรป้องกันดังนี้

 

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
  2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ
  4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
  5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นแหล่งโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้มีการแพร่กระจายเชื้อ

 

ในอดีตประเทศไทยมีการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ แต่ได้ยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2523 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งนี้ โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ เป็นคนละโรคกับฝีดาษลิง แต่จากการศึกษาที่แอฟริกา พบว่าการปลูกฝีป้องกันฝีดาษนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงได้ถึง 85%

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ