Lifestyle

รู้ก่อนสาย "แพ้กุ้ง" รุนแรงกว่าที่คิด แพ้ระดับไหนต้องระวังอย่างไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากประเด็นที่ถูกพูดถึง และแชร์กันในโลกออนไลน์ กรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง ได้โพสต์เรื่องราวประสบการณ์ "แพ้กุ้ง" อย่างหนัก จนถูกหามเข้าโรงพยาบาล โดยเธอเล่าว่า ประสบการณ์แพ้กุ้ง ระดับ IgE4 ซึ่งระดับความแพ้มี 6 ขั้น เราอยู่ระดับ 4 ซึ่งตั้งแต่ ระดับ 3 ต้องระวังให้มาก

ทั้งนี้ข้ออมูลจาก โรงพยาบาลศิครินทร์ อธิบายไว้ว่า “แพ้กุ้ง” คือ หนึ่งในกลุ่มอาการแพ้อาหาร (Food allergy) โดยกลุ่มคนที่แพ้กุ้งส่วนมากจะเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง อาการแพ้กุ้งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปที่ส่งผลกับระบบของร่างกายจนสามารถสังเกตุได้จากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นลมพิษ ผื่นคัน หน้าบวม หรือหายใจติดขัด อาการเหล่านี้เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยอาการแพ้มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม ใครที่ “แพ้กุ้ง” จำเป็นต้องรู้อาการของตัวเอง ถ้าหากรุนแรงเฉียบพลัน กินปุ๊บออกอาการปั๊บ ควรหลีกเลี่ยงการกินกุ้งไปตลอดชีวิต แต่หากไม่ได้มีอาการรุนแรง แพ้บ้างไม่แพ้บ้าง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจโดยแพทย์เท่านั้น

 

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้กุ้ง?

 

แพ้กุ้งรุนแรงชนิดกินปุ๊บเกิดอาการขึ้นปั๊บ เช่น มีผื่นแดง หอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อวัยวะต่างๆ มีอาการบวม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และแย่ที่สุดอาจ ช็อก หรือหมดสติ

 

*หากใครกินกุ้งแล้วมีอาการดังกล่าว ห้ามกินกุ้งซ้ำอีก ควรต้องหลีกเลี่ยงแบบจริงจังไปเลย

 

  • ตอนเด็กไม่แพ้ ทำไมโตมาถึงมีอาการแพ้?

 

แพ้กุ้งตอนโต อาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของ “ไมโครไบโอม” (Microbiome) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายของเรา หรือการกินยาปฏิชีวนะ และ การกินอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนส่งผลให้แพ้อาหารในตอนโตได้

รับประทานยาแก้แพ้ดักไว้ ก่อนที่จะรับประทานกุ้งจะช่วยได้ไหม?

 

ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ทันทีหลังกินกุ้ง การกินยาแก้แพ้ก่อนกินกุ้งไม่สามารถไปลดปฏิกิริยาการแพ้ให้เบาลงได้ แต่จะเสี่ยงอันตรายกว่าเดิม เพราะผู้ป่วยที่เชื่อว่ากินยาแก้แพ้แล้วจะไม่เป็นอะไร อาจกินกุ้งมากขึ้นโดยไม่ได้ระมัดระวังตัวเอง

 

  • รับประทานบ่อยๆ จะหายแพ้ไหม?

 

บางคนฝืนกิน ด้วยความเชื่อว่าร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัว แต่วิธีนี้ไม่ดีแน่ต่อคนที่มีอาการแพ้รุนแรง เพราะจะส่งผลให้หายใจไม่ออก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ร่างกายสูบฉีดโลหิตเร็ว จนอาจช็อค หมดสติ หรือเสียชีวิตได้เลย

 

  • แพ้กุ้ง จะมีโอกาสหายไหม?

 

ในกลุ่มคนที่แพ้อาหารทะเล มีโอกาสน้อยที่จะหายขาดจากอาการแพ้ หากดื้อหรือฝืนกิน เพราะคิดว่าอาจหายได้ อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเพียงเพราะอาหารคำเดียว

 

การหลีกเลี่ยงการรับประทานกุ้ง เป็นวิธีการรับมือและการป้องกันที่ดีที่สุดของคนแพ้กุ้ง หากหาสาเหตุของอาการแพ้ไม่ได้ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการตรวจหาสารก่ออาการแพ้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ