Lifestyle

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการสถาปนิก พร้อมเดินหน้าผลักดันงานออกแบบที่ยั่งยืนสู่สากล ตอกย้ำนักออกแบบชาวไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

ผลงานออกแบบอาคารกว่าร้อยโครงการ ถูกส่งเข้ามายังเวทีการประกวด "BlueScope Design Awards 2021" ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับวงการสถาปนิกในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้วิวัฒนาการและศักยภาพของนักออกแบบและสถาปนิก ผ่านผลงานออกแบบอาคารอันเป็นที่ประจักษ์ โดยงานประกวดนี้เกิดจากการร่วมมือกันขับเคลื่อนวงการสถาปนิกไทยระหว่าง บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด และ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญชวนนิสิต นักศึกษา และสถาปนิก ส่งผลงานการออกแบบอาคารเข้าประกวดตามแนวคิด "The Sustainability of Coated Steel Buildings" เพื่อคัดสรรอาคารและการออกแบบที่นำวัสดุและผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบโลหะ และเหล็กเคลือบสี ไปใช้ในงานออกแบบได้อย่างสร้างสร้างสรรค์ และใช้งานได้อย่างยั่งยืน พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

 

โดยนักออกแบบและสถาปนิกต้องนำโจทย์เรื่อง "ความยั่งยืน" (Sustainability) ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานของบลูสโคป ที่มีนโยบายมุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจด้วยนวัตกรรมจากผลิตภัณฑ์เหล็ก เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคตให้กับ สังคมและชุมชน พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งในแง่ของการออกแบบ และในแง่ของการนำสินค้าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

สำหรับการประกวดประเภทแรก 'The Sustainability of Coated Steel Buildings Design Contest' ผลงานออกแบบเชิงการทดลอง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการจ้างออกแบบอาคารสำหรับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ระดับพลังงาน 3GeV และ อาคารปฏิบัติการ

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร กรรมการบริหาร บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด กล่าวว่า "การออกแบบอาคารสำหรับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนต้องสื่อสารตัวตนของประเทศ รวมทั้งกระบวนการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ให้คนภายนอกเข้าใจ ประกอบกับภายในอาคารจะมีการใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ วัสดุที่เลือกใช้จึงต้องช่วยประหยัดพลังงาน และตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างที่รวดเร็ว หรือมิติของวัสดุที่มีความสามารถหลากหลาย ตรงกับแนวคิดของ BlueScope Design Awards ที่ทำให้นักออกแบบได้ฝึกคิดแบบมีกระบวนการ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ แล้วเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนในอนาคต"

ส่วนรางวัลการประกวดประเภท 'The Sustainability of Coated Steel Buildings of the Year 2021/2022' ผลงานออกแบบอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว มีผู้ชนะการประกวด 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทบ้านพักอาศัย ประเภทพาณิชยกรรม และประเภทสถาบัน

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

• รางวัลชนะเลิศ 'ประเภทบ้านพักอาศัย' ได้แก่ KING KONG HOUSE

        นายวรนล สัตยวินิจ กรรมการบริหาร บริษัท สถาปนิก49 เฮ้าส์ดีไซน์ จำกัด กล่าวถึงแนวคิดในการออกแบบว่า "โครงสร้างส่วนหนึ่งของตัวบ้านเป็นลักษณะกล่องยื่นออกมาจากแนวซัพพอร์ต 6-9 เมตร วัสดุที่นำมาใช้จะต้องไม่เป็นภาระโครงสร้าง มีการบำรุงรักษาต่ำ การเลือกใช้เมทัลชีทนอกจากตอบโจทย์ทุกอย่างแล้ว ยังเปรียบเหมือนการก้าวไปสู่อนาคตของการก่อสร้างรูปแบบใหม่ ๆ โดย BlueScope Design Awards ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สถาปนิกได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์ พร้อมกับการพัฒนาไอเดีย รวมถึงการพรีเซนต์เป็นภาษาอังกฤษยังช่วยให้นักออกแบบได้ฝึกเรื่องการสื่อสารอีกด้วย" 

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

• รางวัลชนะเลิศ 'ประเภทพาณิชยกรรม' ได้แก่ ร้านอาหารบ้านส้มตำและหอมคาเฟ่

         นายสุวภัทร ชูดวง สถาปนิกโครงการ แสดงมุมมองในการเลือกใช้เมทัลชีทในแง่ของความรวดเร็ว สามารถประหยัดทรัพยากรในกระบวนการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยตอบคำถามด้านความยั่งยืน "ไอเดียในการออกแบบเริ่มต้นจากพื้นที่ราว 10 ไร่ มีพาร์ทที่ต้องพัฒนาองค์ประกอบร่วมกับโครงการทั้งหมด 3 ส่วน โจทย์ของเราคือจะทำอย่างไรให้ 3 ส่วน กลมกลืนและสอดคล้องกัน อีกทั้งข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาการเช่าพื้นที่ ทำให้สิ่งที่สร้างลงไปต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ในอนาคต ซึ่งเมทัลชีทเป็นวัสดุที่มีแนวคิดตอบโจทย์กระบวนการก่อสร้างในโปรเจกต์นี้ครบทุกมิติ"

เปิดตัวสุดยอดนักออกแบบอาคาร "BlueScope Design Awards 2021"

• รางวัลชนะเลิศ 'ประเภทสถาบัน' ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติบางกอก พรีแพราธอรี แอนด์ เซ็กเคินเดอรี (บางกอกเพรพ)

          นางสาวจิตตนันท์ จิตรประทักษ์ สถาปนิกโครงการ บริษัท แปลน อาคิเต็ค จำกัด กล่าวถึงแนวคิดของการออกแบบนี้ว่า "เน้นความเชื่อมโยงของการก่อสร้างอาคาร เพื่อลดช่องว่างระหว่างการก่อสร้างในอนาคต เพราะโปรเจกต์นี้เป็นการก่อสร้างแบบหลายเฟส แต่ละอาคารสร้างไม่พร้อมกัน ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ในที่นี้หมายถึงการเลือกใช้วัสดุที่มีความคงทน ซึ่งเมทัลชีทมีลักษณะการทำสีที่สามารถใช้ได้ยาวนาน ไม่ต้องดูแลเยอะ ตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานในโรงเรียน ที่ไม่ต้องจัดการอะไรมาก แต่ยังดูสวยตลอดเวลา"

 

"เอ็นเอส บลูสโคป" เป็นผู้นำในการผลิตเหล็กเคลือบโลหะและเหล็กเคลือบสี ดำเนินงานธุรกิจในประเทศไทยมามากกว่า 30 ปี มุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาโซลูชันเกี่ยวกับเหล็กเคลือบโลหะ และเหล็กเคลือบสีที่ดีที่สุด นำไปสู่การสร้างสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่ต้องการสนับสนุนวงการสถาปนิก และนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้ามาในสายอาชีพนี้ให้มีศักยภาพ สามารถช่วยส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การศึกษาค้นคว้า การวิจัยและพัฒนา เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม อีกทั้งปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย โดยเฉพาะในเรื่องสังคมแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ