วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี นอกจากจะเป็น “วันสงกรานต์” แล้ว รัฐบาลยังมีมติประกาศให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อให้ประชาชนและสังคมตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และศักดิ์ศรีของ"ผู้สูงอายุ"
วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บใน "ผู้สูงอายุ" พร้อมวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น มาฝากกันค่ะ
โดยโรคที่พบบ่อยใน "ผู้สูงอายุ" มี 8 โรค คือ ข้อเข่าเสื่อม หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ภาวะไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เบาหวาน และโรคสมองเสื่อม โดยมีวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น ดังนี้
โรคข้อเข่าเสื่อม
- ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง
- บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด
- ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ
- หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่หมาะสม เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ
- ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก
โรคหัวใจขาดเลือด
- พบแพทย์เพื่อรักษาและปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ
- เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด
- ถ้าอ้วนควรลดน้ำหนัก
- รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ละไขมัน ลดเค็ม รับประทานอาหารที่มีกากมาก / เส้นใยสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น อย่าทำงานหักโหมเกินไป อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไป ระวังอย่าให้ท้องผูก งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจหรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ
ความดันโลหิตสูง
- ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้พอดีและหมั่นออกกำลังกาย
- ลดอาหารเค็ม งดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผักผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดโมโห ตื่นเต้นและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ มีเส้นใยอาหารสูง
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
- หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย
- สำหรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานผลไม้ ประเภท ส้ม กล้วย เป็นประจำ
โรคหลอดเลือดสมอง
- งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า
- หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
- ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด
- บริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อาหารที่มีเส้นใยสูง
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
- ตรวจไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์
- เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
- จำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมีกหอยนางรม
- ควรรับประทานอาหารูประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ
- ลดการบริโภคน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย และใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร โดยใช้ประมาณ 2 – 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
- ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
โรคมะเร็ง
- ไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีบุหรี่
- รับประทานอาหารให้หลากหลาย ที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น ถั่วชนิดต่างๆข้าวกล้อง พืช ผักหลายๆ อย่าง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- รับประทานผักและผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาล
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และเค็มน้อย ลดจำนวนอาหารหมักดองหรือรมควัน และหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
- งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความเครียดและออกกำลังกายเป็นประจำ
โรคเบาหวาน
- ควบคุมอาหาร อย่าปล่อยให้อ้วนไม่รับประทานของหวาน งดสูบบุหรี่ดื่มสุราและของเค็ม ควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีเส้นใยสูง และออกกำลังกายพอควรอย่างต่อเนื่อง
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล
- พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด และสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำให้แผลหายช้า
- มีลูกอมติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหลังรับประทานยาเบาหวาน
- ถ้ามีแผลแล้วหายช้าหรือมีความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
โรคสมองเลื่อม
- ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
- ไม่รับประทานยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา สารเสพติดต่างๆ
- ควรให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลข่าวสารโรคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยฝึกความจำ
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
- พบปะญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ เป็นประจำ
- กระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย จะสามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายและสมองได้
ขอบคุณข้อมูล : สมุดคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง