Lifestyle

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แลนด์มาร์คแห่งใหม่เหมาะแก่การถ่ายรูปและศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่หลงเหลืออยู่ โรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

ทุกครั้งที่มาจังหวัดกาญจนบุรี พอได้เห็นปล่องไฟที่เด่นตระหง่านอยู่ใจกลางเมือง เป็นที่รู้กันว่านี่อยู่ในตัวเมืองกาญจนบุรีแล้ว แต่ไม่เคยเลยที่จะแวะสัมผัสวิถีชีวิตคนเมืองกาญจน์แบบจริงจังสักที ตัวเมืองยังมีหลายสิ่งที่น่าสนใจให้ค้นหา ทว่าหลายคนที่มาเมืองกาญจน์ก็มักจะเข้าหาธรรมชาติอย่างเดียว เพราะเมืองกาญจน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด มีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่

 

เมืองกาญจน์ไม่ได้มีเพียงสะพานข้ามแม่น้ำแควที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เมืองกาญจน์วันนี้ มีเรื่องราวที่มากกว่าธรรมชาติให้ค้นหา ปัจจุบันกาญจนบุรีได้ถูกประกาศเป็นเขตเมืองเก่าเรียบร้อยแล้วโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และถ้าคุณผู้อ่านมีโอกาสได้เดินเล่นในเมืองแบบนี้ละก็ ให้แวะมาที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด(เก่า) นี้ก่อนครับ คุณจะได้รู้จักเมืองกาญจนบุรีและเที่ยวกาญจน์ได้สนุกขึ้น จวนผู้ว่าเก่าปัจจุบันได้ ถูกพัฒนาให้เป็น พิพิธเมืองกาญจน์ ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ทำหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกาญจนบุรีให้กับนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าเยี่ยมชม

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

 

 

ออกจากจวนผู้ว่าเก่า มายังถนนปากแพรก มีอาคารโรงงานเก่าแห่งหนึ่งซึ่งเป็นอาคารโรงงานผลิตกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นโรงงานผลิตกระดาษเพื่อใช้พิมพ์ธนบัตร ในยุคนั้นประเทศไทยต้องผลิตธนบัตรเอง ก่อนหน้านั้นไทยสั่งนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศเพื่อนำมาพิมพ์ธนบัตร พอเกิดสงครามโลก การติดต่อทางการค้าโดนตัดขาดหมด ไทยจึงต้องสร้างโรงงานกระดาษขึ้นมาใช้เอง ในอดีตโรงงานนี้ชื่อว่า “โรงงานกระดาษทหารไทย” เป็นโรงงานที่ผลิตกระดาษจากเยื่อไม้ไผ่ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานกระดาษไทย”  ภายในโรงงานประกอบไปด้วยสถานพยาบาล (สมัยก่อนเรียกโรงหมอ) ตั้งอยู่หน้าทางเข้าประตูโรงงาน มีสโมสร สนามเทนนิส(สนามดิน) เป็นที่พักผ่อนของพนักงาน เมื่อวันเวลาผ่านไปโรงงานถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง หน่วยงานภาครัฐและประชาชนจึงมีมติให้จัดทำสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โดยจะแบ่งฟังค์ชั่นของโรงงานเป็น 3 ส่วน

1 ภูมิเมืองกาญจน์ฯ ทำหน้าที่เก็บทุกสิ่งอย่างที่เป็นเรื่องราวของจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่อดีต ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ปัจจุบัน เมืองกาญฯมีแผนขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอย่างไร และอนาคต ใครมีความริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถทำให้เมืองกาญฯเติบโตในทิศทางที่ดีนำเอามาใส่ไว้ในส่วนนี้

2 พื้นที่ภายในอาคาร จะเป็นแหล่งรวมประชาชนให้มาใช้งานในพื้นที่นี้ร่วมกันเช่น เป็นหอประชุม ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์การเรียนรู้ในส่วนของตัวอาคาร

3 ส่วนพื้นที่ด้านนอกอาคาร จะจัดให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นที่ออกกำลังกายใส่ความเป็นพื้นที่ศิลปะเข้าไปเพื่อให้เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศสามารถเข้า ชมได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบันพื้นที่รอบโรงงานผลิตกระดาษเปิดให้ ประชาชน นักท่องเที่ยวเข้าไปถ่ายรูปที่บริเวณโดยรอบได้ แต่ภายในอาคารนั้นยังไม่เปิดให้เข้า ไปด้วยเงื่อนไขที่ว่าตัวอาคารยังเป็นสิทธิ์ของเอกชนรายเดิมที่ถือกรรมสิทธิ์อยู่

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

โรงงานกระดาษไทย จุดเช็กอินร่วมสมัยของคนกาญจน์และคนทั่วประเทศ

 

ทำไม...เราถึงต้องอนุรักษ์อาคารโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี 

ด้วยสามสาเหตุ ดังนี้

สัญลักษณ์

เป็นสัญลักษณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในประเทศไทย หลังจาก พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาคณะราษฎร์ ต้องพิสูจน์ตัวเอง ในการพัฒนาเศรษฐกิจชาติเพื่อสร้างความยอมรับในวงกว้าง โรงงานกระดาษ จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของเรื่องราวที่บอกเล่าเหตุการณ์ครั้งนั้น ว่าคณะราษฎร์พยายามปลุกปั้นเศรษฐกิจขึ้นมา นอกจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ก็ยังมีความพยายามทำเรื่องเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย 

ประวัติศาสตร์ 

โรงงานนี้ยังมีประวัติศาสตร์ร่วมกับคนเมืองกาญจน์ฯ รวมถึงทหารที่มารบในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ด้วยความแตกต่างด้วยรูปลักษณ์ของตัวอาคารที่ตอนนั้นยังไม่มีที่ไหนมาก่อน ที่ออกแบบก่อสร้างโดยชาวเยอรมัน มันแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยเยอรมันที่เกื้อหนุนกันในยุคนั้นและบ่งบอกถึงการเปลี่ยนผ่านของ การเกษตรยังชีพเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงานในพื้นที่ มีการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เข้าสู่เมืองกาญจน์ฯ

วิถีชีวิต

ที่นี่จึงเหมือนเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของคนเมืองกาญจน์ฯในอดีตเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งรวมของคนเมืองกาญจน์ฯเป็นจำนวนมากนั่นคือพนักงานของโรงงาน มีครอบครัวบ้านพัก โรงพยาบาล มีสนามเทนนิส ฉะนั้นในยุคหลังของโรงงานกระดาษฯมันเป็นการบ่มเพาะจากโรงงานกระดาษฯและธรรมเนียม ข้อปฏิบัติในโรงงานส่งต่อมาถึงชุมชนเมือง และทำให้วิถีชีวิต
คนเมืองกาญจน์ฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มันจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องรักษาความทรงจำตรงนี้ไว้ เพื่อให้เรารู้สึกว่าความรัก ความสามัคคีส่วนใหญ่ของมนุษย์เกิดจากความทรงจำร่วมกัน ถ้าความทรงจำร่วมกันโดนทำลายความรักความสามัคคี หรืออดีตที่เคยผูกพันกันที่เกี่ยวเนื่องกันมันก็จะโดนทำลายลงไปด้วย


 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ