Lifestyle

"คนโสด" ต้องรู้ ทรัพย์สินที่ดินอาจตกเป็นของแผ่นดิน หากเข้าข่ายกรณีเช่นนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้หรือไม่ “คนโสด” หากเสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อน ทรัพย์สินที่มีอยู่นั้นจะตกเป็นของใคร ซึ่งวันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ มีคำตอบในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ยอดฮิตอย่าง “ที่ดิน” มาฝากกัน

จะเห็นว่าในสังคมปัจจุบัน หนุ่ม-สาวมักจะใช้ชีวิต “โสด” กันมากขึ้น นั่นเพราะคนรุ่นใหม่สามารถดูและตัวเองได้ดี และมองว่าการใช้ชีวิตคู่ รวมถึงการมีลูกอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อ ยิ่งคนที่การศึกษาสูง สามารถวางแผนเพื่อให้คุณภาพชีวิตของตัวเองดีขึ้นได้ จึงเชื่อมั่นว่าไม่น่ามีปัญหาในอนาคต แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็น “คนโสด” นั้นหากเสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อน ทรัพย์สินที่มีอยู่นั้นจะตกเป็นของใคร ซึ่งวันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ มีคำตอบในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ยอดฮิตอย่าง “ที่ดิน” มาฝากกัน

 

“ที่ดิน” นับเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา “ที่ดิน” จึงเป็นมรดกที่หลายครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น บางครอบครัวก็อาจกำลังวางแผนการซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้เป็นมรดกส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน และเมื่อพูดถึงเรื่องมรดก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายน่ารู้ โดยเฉพาะกฎหมายมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด ลองมาดูกันว่า 4 เรื่องสำคัญรู้เกี่ยวกับกฎหมายมรดกที่ดินมีอะไรบ้าง

กฎหมายมรดก "ที่ดิน" ที่ควรรู้

กฎหมายมรดกที่ดิน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินที่ตกทอดไปยังทายาทเมื่อเจ้าของที่ดินเสียชีวิตเเล้ว ซึ่งรายละเอียดและกฎหมายมรดกที่ดินที่ควรทราบมีดังนี้

1. กฎหมายมรดกที่ดินที่ควรทราบประการแรกคือมรดกที่ดินจะตกเป็นของบุคคลที่เจ้าของที่ดินระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งเรียกว่า “การได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม”

2. กฎหมายมรดกที่ดินข้อที่ 2 คือ ในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินจะตกทอดแก่ทายาทตามลำดับของเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็น “ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย”

3. กฎหมายมรดกที่ดินข้อถัดมาคือผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินกับสำนักงานที่ดินโดยกำหนดรายละเอียดของเอกสารที่นำไปจดทะเบียนไว้ดังนี้

  • กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าถ้าเอกสารเป็น โฉนดที่ดิน น.ส.3 ข. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
  • ตามกฎหมายมรดกที่ดินถ้าเอกสารเป็น น.ส.3, น.ส.3 ก. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอ

 

4. ในกรณีที่พื้นที่นั้นๆ ยกเลิกอำนาจของนายอำเภอเกี่ยวกับกฎหมายมรดกที่ดินไปแล้ว ผู้ที่ได้รับมรดกที่ดินที่มีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข. ต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด

ใครมีสิทธิรับมรดกที่ดินบ้าง ในทางกฎหมายมรดกที่ดินการส่งมอบมรดกที่ดินแบ่งผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมส่งต่อมรดกที่ดินนั้นโดยระบุชื่อผู้สืบทอดไว้ชัดเจนตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด

2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม เมื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายมรดกที่ดินที่มีการลำดับทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมไว้ดังนี้

 

 

ลำดับผู้ได้รับมรดก “ที่ดิน”

ลำดับที่ 1  ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม

ลำดับที่ 2 บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก

ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน หรือที่เรามักเรียกกันว่า “พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่” 

ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา 

ซึ่งการแบ่งมรดกจะใช้หลักการ “ญาติสนิทตัดสิทธิญาติห่าง” ทายาทลำดับต้นมีสิทธิรับมรดกก่อนทายาทลำดับหลัง แต่มีข้อยกเว้นสำหรับทายาทลำดับที่ 1 และที่ 2 จะไม่ตัดสิทธิกันเอง

***ในกรณีที่ไม่มีผู้สืบสันดาน ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของแผ่นดิน***

อย่างไรก็ตาม คู่สมรสก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน เพียงแต่ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามลำดับข้างต้นนี้ โดยจะมีกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นกรณีพิเศษ หากมีคู่ครองที่จดทะเบียนสมรสจะได้ใช้สิทธิตามกฎหมายได้อย่างเต็มที่ในลำดับที่ 1 เท่ากันกับผู้สืบสันดาน

ดังนั้นเพื่อไม่ไห้เกิดปัญหาดังกล่าว “คนโสด” ควรทำพินัยกรรมระบุไว้ให้ชัดเจน ว่าทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จะจัดการแบ่งสรรปันส่วนให้ใคร อย่างไรบ้าง จะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคต ทั้งนี้การเขียนพินัยกรรมด้วยตัวเองสามารถทำไว้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตราบเท่าที่เจ้ามรดกต้องการ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ