Lifestyle

วิธีการอยู่กับผู้ป่วย "โรคมะเร็ง" อย่างเข้าอกเข้าใจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ควรทำอย่างไร เมื่อมาดูแลผู้ป่วยในครอบครัวที่เป็น "โรคมะเร็ง" มาระยะหนึ่งแต่หมดกำลังใจได้เมื่อผู้ป่วยแสดงกริยาเกรี้ยวกราด หรือแสดงอารมณ์หงุดหงิดใส่ เรื่องแบบนี้ไม่เพียงทำให้เราเหนื่อยกาย แต่ต้องเหนื่อยใจตามมาอีก

ผู้ป่วย "โรคมะเร็ง" บางรายเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคร้ายอาจเกิดอาการเงียบ ไม่พูดจาโต้ตอบ แล้วยังปฏิเสธการวินิจฉัยของหมอเนื่องจากเชื่อว่าดูแลตัวเองมาดีแล้ว ทำให้กว่าจะยอมรับความจริงอาจไปตรวจเพิ่มเติมกับอีกหลายโรงพยาบาลจนเสียเวลาการรักษาโรคร้ายอย่างจริงจัง

 

เพื่อทำความเข้าใจกับอารมณ์ของผู้ป่วย "ผู้ดูแล" อาจต้องเปิดใจเพื่อทำความเข้าใจว่าอาการนี้ถือเป็นวิธีการรับมือของผู้ป่วยอย่างหนึ่งจากกลไกการปรับตัว 6 ระยะ  คือ 1.ระยะช็อค  2.ระยะปฏิเสธ  3.ระยะโกรธ  4.ระยะต่อรอง  5.ระยะซึมเศร้า และ 6. ระยะยอมรับความจริง 

 

อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นเสมอไปว่าผู้ป่วยทุกคนจะมีอาการครบทั้ง 6 ระยะ เพราะบางคนอาจมีแค่บางอาการ และ ลำดับของอาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นตามนี้ ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ และ เข้าใจสุขภาพจิตของผู้ป่วยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ที่สำคัญ หากผู้ป่วยไม่ยอมมารักษา ควรเกลี้ยกล่อมให้มารักษาก่อนที่อาการจะลุกลามจนเกิดออันตราย

 

"ผู้ดูแล" จึงเป็นบุคคลที่สำคัญ และยังเป็นที่พึ่งทางใจให้กับผู้ป่วย ผู้ดูแลจึงต้องมีสติมั่นคง ทั้งร่างกายและจิตใจ ต้องเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่ลืมที่จะให้กำลังใจตัวเองและให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนบ้าง แต่ถึงอย่างนั้นในระยะยาวก็ต้องการผู้ช่วยอีกคนมาคอยสลับเปลี่ยน เพื่อกระจายความรัก ความห่วงใจจาก ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดอย่างทั่วถึง จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

 

ที่มาข้อมูล: โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ