Lifestyle

"สูงวัย" ต้องทำอย่างไรให้หัวใจยังเวิร์ค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดใจเหล่า “อินฟลูเอนเซอร์” สุดต๊าซในโซเชียล พร้อมร่วมจุดประกาย ปลุกพลังใจวัยอิสระให้ “ร่าเริง” ไม่ “โรยรา”

ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society)   กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงจัดทำโครงการดีๆ  “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค” เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนสร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานป้อนโลกโซเชียล ภายในงานได้จัดเสวนา “ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค” โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธาน พร้อมอินฟลูเอนเซอร์วัยอิสระ  ที่กำลังได้รับความนิยมจากโลกโซเชียล แต่ละคนโพร์ไฟล์และยอดติตามไม่ธรรมดา 

          

Aged Society, สูงวัย, ผู้สูงอายุ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค, ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค, สื่อออนไลน์

 

 

Aged Society, สูงวัย, ผู้สูงอายุ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค, ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค, สื่อออนไลน์

 

เริ่มจาก ณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์ จาก Tiktok ครูตุ๊กตา tookta พา fit  ผลิตคอนเทนส์เสนอการออกกำลังกาย และโยคะ เพื่อคู่คิดด้านการออกกำลังกายเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่มาทำคอนเทนส์ออนไลน์แม้อายุเข้าสู่เลข 6 แล้วเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ดูแลตัวเองจากปัญหาเข่าเสื่อม เคยลดอาหารเพื่อไม่ให้น้ำหนักขึ้น กลายเป็นขาดสารอาหารไปด้วย จึงต้องหันมาดูแลตัวเอง  สำหรับช่วงเวลาเธออยู่กับโซเชียลทำการตัดต่อคลิปในแต่ละวันราวครึ่งถึง 1 ชั่วโมง เฉลี่ยแล้วจะเล่นในช่วงเวลาว่างประมาณ 7-8 ช่วงต่อวัน ช่วงละ 10 นาทีเพื่อเป็นการถนอมสายตา ป้องกันการนั่งนานๆ ที่จะก่อปัญหาหลังไหล่ค่อม เข่าเสื่อมตามมา  

 

“คอนเท้นส์ที่แนะนำคือท่าออกกำลังกาย ป้องกันออฟฟิศซินโดรม เมื่อดูแลรักษาตัวเองจึงอยากเรียนรู้สิ่งที่อยากรู้ และอยากบอกสิ่งที่เรารู้ออกไปให้มีประโยชน์อย่างไร ครั้งแรกเริ่มจากเขียนลงบล็อกในเฟสบุค ต่อมาใช้ติ๊กต็อกในการนำเสนอซึ่งรูปแบบเปลี่ยนไปจากการเขียนมาสื่อสารด้วยการพูด จึงต้องปรับตัวเยอะเพราะติ๊กต็อกถ่ายทอดเป็นภาพและเสียง ตอนเขียนอยากเขียนอะไรสามารถแยกเป็นหัวข้อๆ  ได้ แต่พอเป็นการพูด บางครั้งพูดไม่ทันเพราะสั้น ธรรมชาติติ๊กต็อกต้องไว จึงพัฒนาการเขียนแคปชั่นให้สั้นและกระชับแต่สื่อความหมายให้เข้าใจเหมือนเดิม ทำให้ได้พัฒนาด้านการใช้ภาษา แต่พยายามไม่ทิ้งทักษะการเขียน”  
            

 

Aged Society, สูงวัย, ผู้สูงอายุ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค, ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค, สื่อออนไลน์

 

ด้าน ทพ.สมชัย สุขธรรมวงศ์ จาก Tiktok: Dr.Van ที่มีผู้ติดตามมากถึง 11.1K followers  อีกทั้งเขายังเป็นนักธรรมเอก ทันตแพทย์ ครูสอนออกกำลังกาย จากการเป็นทันตแพทย์แล้วหันมาเล่นติ๊กต็อกสอนออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมให้คนออกกำลังกาย โดย Dr.Van เล่าจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาก้าวเข้าสู่โซเชียลเริ่มจากงานเขียนบทความการออกกำลังกายลงบนกระดาษซึ่งปัจจุบันก็ยังเขียนลงบนกระดาษเพื่อการฝึกเส้นประสาทมือ และปรับตัวให้เท่าทันโลกคือการพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ 


“เริ่มแรกจากการเขียนบล็อกและได้พัฒนาการเรียบเรียงบทความและมาลงเฟซบุ๊กซึ่งเขียนเรื่องยาวได้ จากนั้นเพื่อนชวนเล่นติ๊กต็อกช่วงโควิด ก็ลองทำปรากฎว่าคนไม่ดู แต่จากที่ตัวเองเป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้ว จึงคิดว่าควรโชว์สิ่งที่เรามีเราเป็น พอจับแนวได้ก็ทำคลิปลงช่องทางอื่นๆ คอนเท้นส์ที่ทำมาจากคนโน้นคนนี้บาดเจ็บ เดินหกล้มแล้วประมวลมาทำเป็นคลิป และผมซีเรียสเรื่องผู้สูงวัยล้มง่าย สอนการลุกให้ถูกวิธี เพราะผู้สูงอายุมักขาเจ็บจากการลุกนั่ง หากบาดเจ็บทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก นำมาผสมผสานกับการใช้ธรรมะมาใช้ในการออกกำลังกาย

  
“ผมใช้สื่อออนไลน์เพื่อผ่อนคลายความเครียดด้วยการหันมาดูติ๊กต็อก ซึ่งก็ไม่มีอุปสรรคหรือปัญหาอะไร แต่เราต้องพัฒนาเนื้อหา รูปแบบในการนำเสนอ ควรมีลูกเล่นเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ ตรงนี้เป็นโจทย์ที่ต้องคิด สำหรับการเสพสื่อออนไลน์อย่าโดนหลอก และอย่าเป็นเหยื่อการเมือง ฟังได้เพื่อให้เข้าใจสภาวะบ้านเมือง แต่อย่าไปตัดสิน เวลาเสพสื่อต้องดูแหล่งที่มา ถ้าเป็นข่าวที่รัฐบาลนำเสนอเชื่อถือได้ แต่ข้อมูลจากเพจส่วนตัวของใครคนใดคนอื่นเมื่อฟังแล้วต้องวิเคราะห์และแยกแยะ อย่าแชร์อะไรปุ๊ปปั๊บ ซึ่งตัวผมเองมองว่าการเล่นโซเชียลเป็นเรื่องดีสำหรับผู้สูงอายุ เหมือนเราเรียนหนังสือตลอด สมองก็ไม่เสื่อมเช่นเรียนรู้เทคนิคการตัดต่อ ส่วนจะมีรายได้ไหมต้องดูที่ตัวเอง อย่างน้อย ๆ ตัวเองได้พัฒนาสมองตลอดเวลา”

 

Aged Society, สูงวัย, ผู้สูงอายุ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค, ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค, สื่อออนไลน์

 

ขณะที่ "หน่อย" ชุติมา แสนนนท์ จากเพจ แต่งให้สวย Style 50+ อินฟูเอนเซอร์สายแฟชั่น วัย 50+  แต่งสวยสไตล์ 50 พลัส  มาบอกเล่าการแต่งตัวสไตล์ 50+ อย่างไรให้ดูเก๋ ซึ่งก่อนจะก้าวมาเป็นอินฟูเอนเซอร์อดีตนักตรวจสอบบัญชีผู้เคร่งครึมมีความสุขเพียงการแต่งสูทโทนดำขาว เมื่ออายุ 50 เริ่มตระหนักถึงวัยที่อยากปลดปล่อยและเปลี่ยนตัวเองมาแต่งตัวสนุกๆ ดูบ้าง จึงลุกขึ้นมาทำเพจเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นฉีกกฎเดิมๆ แล้วหันมารักและดูแลตัวเอง และทำชีวิตให้กระชุ่มกระชวยด้วยการแต่งตัว

 

“บางคนอาจไม่กล้าลุกขึ้นมาแต่งตัวมากเพราะคิดว่าอายุมากแล้ว สำหรับตัวเองมองว่าเราก็อายุมากแล้ว แต่งตัวแต่ชุดสูทสีทึมๆ เพื่อให้เหมาะกับอาชีพ ทำไมไม่ลองปรับเปลี่ยนตัวเองให้ชีวิตดูมีสีสันขึ้นบ้าง พอเปลี่ยนการแต่งตัวปรากฎว่าคนชอบ ฟีดแบคดีมาก จึงเริ่มทำเพจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งปีแรกผลตอบรับจากแฟนเพจดีมากๆ จนได้รับรางวัลโซเชียลอวอร์ด จึงคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว ผู้หญิงวัย 40 บวกห่วงเรื่องรูปร่าง การแต่งตัว เห็นเราเป็นไอดอล โซเชียลทำให้เราได้แบ่งปันและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิง มีการพูดคุยกับแฟนเพจ มีการถ่ายแฟชั่นเซ็ต 

 

ในวัย 50 กว่าๆ ผู้สูงอายุหลายคนถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียว อาจรู้สึกเหงา ก็ให้ลุกขึ้นมาเรียนรู้โซเชียล และสามารถสร้างรายได้ได้ จริงๆ อายุ 50 กว่าๆ มีข้อดีอยู่ในตัว เช่น ทำอาหาร ดูแลสุขภาพ ให้นำมาแบ่งปัน พอมีเงินเยอะลูกหลานก็วิ่งมาหาเอง ที่สำคัญเกิดความสุขขึ้นกับตัวเองซึ่งถือข้อดีที่สัมผัสได้จากตัวเองและทุกคนทำได้”

 

ผู้สูงวัยที่ฟังแล้วมีพลังใจ อยากลุกขึ้นมาถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ กับสังคม สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมสูงวัยหัวใจยังเวิร์คได้ที่ https://forms.gle/iMA6c262MZa2r5Hn6 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ