Lifestyle

รักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ด้วยการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วย แม่เหล็กไฟฟ้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ออฟฟิศซินโดรม" อาการของคนทำงานที่มักต้องทำงานประจำอยู่กับที่ มีการเคลื่อนไหวน้อย หรือมักต้องเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในลักษณะเดิม ๆ จนเกิดอาการเจ็บกล้ามปวดเนื้อตามร่างกาย

การรักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ที่ได้ผลดีมีหลายวิธี ซึ่งบทความนี้จะมาแนะนำการรักษาด้วย การกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS) เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม

 

การกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS) คืออะไร?

Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) คือ วิธีการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเทคนิคการบำบัดรักษาอาการปวด ชา และอาการทางประสาทต่าง ๆ ด้วยการส่งคลื่นไปกระตุ้นเนื้อเยื่อ และการไหลเวียนของเลือดในตำแหน่งนั้น ๆ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะโดยรอบ

 

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS มีหลักการทำงาน คือ เครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง ทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงกระดูกหรือกล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ ที่ต้องการกระตุ้น

 

 

รักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ด้วยการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วย แม่เหล็กไฟฟ้า

จากนั้น เครื่องจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเกิดการหดและคลายตัวสลับกันตามความถี่ที่กำหนดไว้ คล้ายกับการสั่นที่กล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ถูกกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา

 

นอกจากนี้ยังช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาท ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาทที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

PMS ถูกใช้ในการบำบัดรักษากลุ่มโรคและอาการต่าง ๆ ดังนี้

 

  1. ใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดต่าง ๆ

ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเฉียบพลัน หรืออาการปวดเรื้อรังที่มาจากการใช้งานกล้ามเนื้อในลักษณะซ้ำ ๆ เป็นประจำอย่างออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถรักษาได้โดยใช้ PMS โดยเห็นผลทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มเข้าไปรักษาเลย

 

  1. กลุ่มอาการชา

ไม่ว่าจะเป็นมือชา ขาชา เท้าชา ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ ความผิดปกติของปลายประสาท หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยพบว่า PMS สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นประมาณ 50-100% เลยทีเดียว

 

  1. อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา  

หากเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก เช่น อาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ เราสามารถใช้ PMS เพื่อกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมระบบประสาทส่วนที่มีการเสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

 

    4. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง  

โดยพบว่าคลื่นแม่เหล็กสามารถใช้ในการกระตุ้นลงลึกได้ถึงรากประสาทโดยตรง อีกทั้งยังช่วยเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บการกดทับรากประสาทที่คอและเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อมได้อีกด้วย
 

    5. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมอง 

เราสามารถใช้ PMS เพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้ เพราะการยิงคลื่นแม่เหล็กกระตุ้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและชะลอการฝ่อของกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดอาการเกร็งของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

 

รักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ด้วยการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วย แม่เหล็กไฟฟ้า

 

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลพระราม9

 

logoline