ไลฟ์สไตล์

ประวัติ "วันเด็กแห่งชาติ" ที่กำหนดมาเพื่อรณรงค์เรื่องความเท่าเทียม

08 ม.ค. 2565

เพราะเด็กคืออนาคตสังคม องค์การสหรประชาชาติจึงได้กำหนด "วันเด็ก" ขึ้นมาเพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของเด็กทุก ๆ คน

จุดเริ่มต้นวันเด็ก คือ "ความเท่าเทียมของความเป็นคน"

 

วันเด็กแห่งชาติ 2565 แท้ที่จริงแล้วมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันเด็กสากล" ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ของทุกคน ไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ รวมถึงสนับสนุนให้แต่ละประเทศสมาชิกร่วมกำหนดวันเด็กแห่งชาติของประเทศตัวเองเพื่อให้ประชาสังคมได้เข้าใจ 'ธรรมชาติและความสำคัญของเด็ก' และเพื่อร่วมกันสร้างสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีงามเพื่อให้เด็กได้เติบโตต่อไป 

ประวัติ \"วันเด็กแห่งชาติ\" ที่กำหนดมาเพื่อรณรงค์เรื่องความเท่าเทียม

"งานวันเด็ก" ในประเทศไทยตรงกับวันจันทร์

 

สำหรับประเทศไทย เริ่มมีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498  และจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม จนถึงปี พ.ศ.2506 และในปี พ.ศ.2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทันจึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ.2508

คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นว่า ช่วงเดือนตุลาคมที่จัดงานวันเด็ก ตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย ทำให้ไม่สะดวกต่อการจัดงานและการมาร่วมงานของเด็ก ๆ  อีกทั้งวันจันทร์ยังเป็นวันทำงานที่ผู้ปกครองไม่สามารถพาบุตรหลานมาร่วมงานได้ จึงเสนอให้เปลี่ยนมาจัดงานวันเด็กแห่งชาติในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมแทน  วันเด็กแห่งชาติจึงจัดขึ้นในวันเสาร์ที่สองของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จวบจนถึงปัจจุบัน

 

ในทุกปีจะมี "คำขวัญวันเด็ก" เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี
ในปี พ.ศ. 2499 ได้เกิดคำขวัญวันเด็กขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยนายกรัฐมนตรี "จอมพล ป. พิบูลสงคราม"
ซึ่งท่านได้มอบคำขวัญในปีแรกไว้ว่า 
 

"จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม"

 

 

เพลง "หน้าที่เด็ก" หรือ "เด็กเอ๋ยเด็กดี" มาจากไหน?
 

ปี พ.ศ. 2498 ทางสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยหน้าที่ของเด็ก (อัพเดต) โดยนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาสังคมเห็นถึงความความต้องการของเด็กและเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
 

จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมวันเด็กแห่งชาติ โดยมีครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ นักเขียนนวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของไทย ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติคนหนึ่ง จึงได้นำเนื้อหาดังกล่าว มาแต่งเป็นกลอนให้คล้องจองกัน และ ขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนานแต่งทำนองให้ เพลง "หน้าที่เด็ก" จากนั้นได้มีการนำเพลงนี้ไปเปิดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ในวันเด็กแห่งชาติทุกปี จนถึงทุกวันนี้


ที่มาข้อมูล:un.org, m-culture.go.th