Lifestyle

"ล้างไตทางช่องท้อง" ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์เผยล้างไตไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ล้างแล้วชีวีก็มีสุขได้ พร้อมเคล็ดลับป้องกันไม่ให้ไตวายด้วยการลดเค็มลง ครึ่งหนึ่ง

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคีองค์กร อันประกอบด้วย มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย, ชมรมรอยโรคช่องปากแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดงานประกวด "ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุขภาพดี อิสระเสรี ชีวีมีสุข แห่งชาติ พ.ศ. 2564” หรือ "Thailand Top Peritoneal Dialysis Idol 2021" ณ ห้องไทยจิตรลดา โรงแรม Bangkok Marriot Marquis Queen's park กรุงเทพฯ โดยมี นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน

 

โรคไต, ล้างไตทางช่องท้อง, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย, ชมรมรอยโรคช่องปากแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., เครื่องล้างไตอัตโนมัติ

 

โรคไต, ล้างไตทางช่องท้อง, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย, ชมรมรอยโรคช่องปากแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., เครื่องล้างไตอัตโนมัติ

 

งานประกวด "ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุขภาพดี อิสระเสรี ชีวีมีสุข แห่งชาติ พ.ศ. 2564” จัดขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยฟอกไตที่มีความเป็นเลิศด้านต่างๆ รวม 5 ด้าน จากศูนย์ล้างไตทั่วประเทศ ได้แก่

  • รางวัล “สุขภาพกายโดดเด่น” ผู้ชนะเลิศ ได้แก่ คุณพรชิตา ภูมิศักดิ์
  • รางวัล “สุขภาพจิตยอดเยี่ยม” ได้แก่ คุณธนกร จันสี
  • รางวัล “อุทิศตนเป็นเลิศ” ได้แก่ คุณชิด ประกอบแก้ว
  • รางวัล “ทูตสันถวไมตรี” ได้แก่ คุณหัฐพร ธารพานิช
  • รางวัล “เลิศด้านการล้างไตทางช่องท้อง” ได้แก่ คุณเพ็ชรรัฐ กิจโชติสกุล
  • รางวัลพิเศษ “ขวัญใจประชาชน” ได้แก่ นายสวัสดิ์ ประทุมมา

 

 

 

 

นพ.จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกไตในประเทศไทยมีประมาณ 150,000 ราย และ ในจำนวนนี้ มีประมาณ 30,000 รายเศษ ซึ่งสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และเมื่อเข้าสู่ระยะต้องฟอกไต ผู้ป่วยจะได้รับสิทธิการบำบัดทดแทน ได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งข้อดีของการล้างไตทางช่องท้อง มีดังนี้

 

  1. ป่วยสามารถทำการรักษาด้วยตัวเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปที่ศูนย์ฟอก ซึ่งเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยและผู้ดูแล และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโควิด 19
  2. กำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน เนื่องจากสามารถทำการฟอกไตได้ทุกวัน
  3. ไม่ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
  4. สามารถออกแบบชีวิตตนเองได้อย่างมีอิสระ มีเวลาสำหรับไปทำสิ่งที่รักได้มากขึ้น
  5. ผู้ป่วยสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากหลาย

 

 

ในปีที่ผ่านมา สปสช. ได้ยกระดับ "ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง" สิทธิบัตรทอง หนุน "เครื่องล้างไตอัตโนมัติ" ให้ใช้ที่บ้าน ส่งน้ำยาผ่านไปรษณีย์ฟรีทุกเดือน หวังเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย-ผู้ดูแล พร้อมตั้งเป้านำร่อง 500 ราย  สำหรับการล้างไตด้วยเครื่องอัตโนมัติ (APD) เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ขยายเพิ่มขึ้นแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการล้างไตโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โดยผู้ป่วยสามารถตั้งเวลาการทำงานของเครื่องไว้ได้ล่วงหน้า ไม่ต้องตื่นมากลางดึกเพื่อเติมน้ำยาล้าง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลนั้นดีขึ้น

 

โรคไต, ล้างไตทางช่องท้อง, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย, ชมรมรอยโรคช่องปากแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., เครื่องล้างไตอัตโนมัติ

 

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานโครงการจัดการประกวด "ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุขภาพดี อิสระเสรี ชีวีมีสุข แห่งชาติ พ.ศ. 2564" แบบ hybrid เฟ้นหาตัวแทนผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องกว่า 30,000 ราย ทั่วประเทศ จาก 13 เขตสุขภาพ ที่มีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีเยี่ยม จิตสาธารณะ และโดดเด่นด้านการล้างไตทางช่องท้อง เหมาะสมกับการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ป่วยที่กำลังตัดสินใจฟอกไตหรือได้ทำการฟอกไตไปแล้ว โดยให้มาถ่ายทอดความรู้สึกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์โรคไตเรื้อรัง การรักษา และแง่มุมต่างๆ ให้กับสาธารณชนและผู้ป่วยท่านอื่นได้รับทราบ ผ่านสื่อสาธารณะ รวมถึงวิธีการดูแลตนเองให้สุขกาย สุขใจ มีสังคมที่เป็นสุข เป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยคนอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าการล้างไตทางช่องท้องนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข

 

โรคไต, ล้างไตทางช่องท้อง, สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย, ชมรมรอยโรคช่องปากแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., เครื่องล้างไตอัตโนมัติ

 

ขณะที่ พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงสถานการณ์โรคไตในคนไทยปัจจุบันว่า โรคไตเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไต 8 ล้านคน มีผู้ป่วยไตวายต้องฟอกกว่าแสนราย แต่โรคไตเป็นเรื่องที่ป้องกันได้หากทุกท่านปรับพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการลดเค็มครึ่งหนึ่ง งดเหล้า-บุหรี่ งดการกินยาแก้ปวด แก้อักเสบโดยไม่จำเป็น จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเองก็ควรมีฉลากระบุปริมาณแคลอรีและโซเดียมให้ชัดเจน ผู้ผลิตเองก็ควรปรับลดปริมาณเกลือในสูตรอาหาร และเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกโซเดียมต่ำออกสู่ตลาดมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งทางผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเมื่อการเจ็บป่วยลดลง ก็จะสามารถช่วยชาติประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาในอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยไตวายระยะต้องฟอก กว่าครึ่งปฏิเสธการล้างไต รอจนกว่าเกิดภาวะน้ำท่วมปอดและอาการมากแล้วจึงตัดสินใจฟอก ซึ่งในระยะนี้จะทำให้ผลลัพธ์การฟอกไตออกมาได้ไม่ดี 

 

ผู้สนใจสามารถรับชมการประกวด “ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุขภาพดี อิสระเสรี ชีวีมีสุข แห่งชาติ พ.ศ. 2564” ได้ที่ https://www.facebook.com/kidneythai/

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ