Lifestyle

ต้องเศร้าแค่ไหน ถึงเป็น "โรคซึมเศร้า"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จริง ๆ เราจะสังเกตุคนที่เป็น "โรคซึมเศร้า" ได้ไม่ยาก เพราะคนเป็นเขาจะมีวิธีคิดและการแสดงอารมณ์ไม่เหมือนคนทั่วไป แต่คนเป็น “โรคซึมเศร้า” บางคนภายนอกอาจดูไม่มีอะไร แต่ภายในเขาทุกข์ทรมานมาก ๆ

"โรคซึมเศร้า" คืออะไร?
 

"โรคซึมเศร้า" เป็นโรคทางจิตเวชด้านความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุหลักมาจาก ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไปเช่น พันธุกรรม สารเสพติด การสูญเสีย ความผิดหวัง หรือ ความเครียด

อาการเข้าข่ายคนเป็น "โรคซึมเศร้า"

ผู้ป่วยโลกซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษามีอัตรฆ่าตัวตายถึง 20% มากกว่าคนทั่วไปหลายสิบเท่า
 

อาการ

  • อารมณ์เศร้า
    ท้อแท้ ซึมเศร้า หงอย โดยจะรู้สึกได้ด้วยทั้งตัวเองและผู้อื่น
     
  • เบื่อ
    ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำ
     
  • อาการร่วมอื่น ๆ 
    การกิน - เบื่ออาหาร หรือ เจริญอาหารมากกว่าปกติ
    การนอน - นอนไม่หลับ หรือ นอนมากกว่าปกติ
    พฤติกรรม - เชื่องช้าลงหรือกระวนกระวาย
    ร่างกาย - อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ ใจลอย ตัดสินใจอะไรไม่ได้
    ความคิด - ตำหนิตัวเองหรือมองตัวเองเป็นคนไร้ฆ่า มีความคิดอย่าฆ่าตัวตาย

 

ความเชื่อผิด ๆ ที่คนมองคนเป็น "โรคซึมเศร้า"

  • อ่อนแอ
  • มองโลกในแง่ร้าย
  • ไม่อดทน
  • ใจไม่สู้
  • เปราะปาง
  • ยังมีคนแย่กว่านี้

ต้องเศร้าแค่ไหน ถึงเป็น "โรคซึมเศร้า"

ความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้ทำร้ายผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีใครที่อยากเศร้าตลอดเวลา โรคซึมเศร้า จึงเป็นอาการที่ต้องได้รับการ รักษา 

 

"โรคซึมเศร้า" รักษาได้!

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ 'สิ้นเปลือง' และ 'เสียเวลา' ทั้งที่จริง ๆ แล้วการไม่ไปรักษามีราคาที่แพงกว่า ทั้งค่าใช้จ่ายและทางจิตใจ หากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจนำไปสู่การหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง ทำร้ายตัวเองจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย

 

แนวทางการรักษา "โรคซึมเศร้า"

โรคซึมเศร้า รักษาได้โดยการทำจิตบำบัดรายบุคคลและการทำจิตบำบัด ร่วมกับรับประทานยาแก้โรคซึมเศร้าโดยตัวยาจะช่วยไป ปรับสมดุลของเซโรโทนิน ทำให้อารมณ์ค่อย ๆ แจ่มใสขึ้นใน 2-3 สัปดาห์แรก ซึ่งต้องใช้เวลา30-90 วัน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่
 

อาการผลข้างเคียงยา

อาการที่พบได้บ่อย คือ ความว่องไวลดลงและ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม มึนงง
ในปัจจุบันเพื่อให้หมาะสมกับแนวทางการใช้ชีวิต จึงมีรูปแบบการรักษาที่แก้อาการง่วงซึมให้ผู้ป่วยเลือกใช้ และหายจากอาการซึมเศร้าโดยที่ไม่ก่อให้เกิดการเสพติดยาของผู้ป่วย

 

ที่มาข้อมูล: กรมสุขภาพจิต 



 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ