Lifestyle

เป็นไปได้! จีนพบ "ฟอสซิล" ไข่ 70 ล้านปี แต่สภาพตัวอ่อนอยู่ครบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชวนมาดูความมหัสจรรย์ของ "ฟอสซิล" ไข่ไดโนเสาร์ มีอายุกว่า 70 ล้านปีแต่กลับมีสภาพที่ดีแม้จะไม่ได้รับการดูแลก็ตาม

ที่พิพิธพัณฑ์ยิงเหลียง เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ได้มีพนักงานค้นพบ "ฟอสซิล" ไข่ไดโนเสาร์ ที่ยังคงสภาพความเป็นไข่ที่ไร้รอยแตกร้าวและกระดูกข้างในยังคงอยู่สภาพเหมือนตัวอ่อนที่ยังมีชีวิตอยู่อีกด้วย ทั้งที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าไข่นี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 70 ล้านปีแล้ว

พิพิธพัณฑ์ยิงเหลียง Yingliang Stone Natural History Museum

 

ตำแหน่งของทารกไดโนเสาร์ในไข่นั้นคล้ายคลึงกับตำแหน่งของนกในปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อ "ฟอสซิล" และตัวอ่อนภายในชื่อว่า ยิงเหลียง ตามชื่อพิพิธพัณฑ์ที่ค้บพบ ความพิเศษของฟอสซิล ยิงเหลียง คือ ไข่ฟองนี้ไม่แตกร้าว ทั้ง ๆ ที่มันมีขนาดเล็กเพียง 17 เซนติเมตร ยิ่งไปกว่านั้นนักวิทยาศาตร์ยังพบว่าซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ภายในไข่ยังคงอยู่ในสภาพดีและครบถ้วนเหมือนกับตัวอ่อนด้านในยังมีชีวิตอยู่ แม้ซากไข่ฟองนี้ไม่ได้ถูกจัดเก็บอย่างระมัดระวังในฐานะที่เป็น "ฟอสซิล" ก็ตาม รองศาสตราจารย์ดาร์ลา เซเลนิทสกี (Darla Zelenitsky) จากภาควิชาธรณีศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาลการี ประเทศแคนาดา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับซากไข่โบราณมากว่า 25 ปีกล่าวว่า

"ไข่ฟองนี้มหัศจรรย์มาก และนี่ยังถือเป็นครั้งแรกของเธอที่ได้พบซากฟอสซิลไข่ที่ยังอยู่ในสภาพเช่นนี้"

บรรพบุรุษของนก คือ ไดโนเสาร์

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่าแท้จริงแล้ว ไดโนเสาร์สายพันธุ์ 2 ขา หรือที่เรียกว่า เทอโรพอด ถือเป็นบรรพบุรุษของนกนั่นเอง

 

นักวิทยาศาสตร์จากประเทศจีน อังกฤษ และ แคนนาดาได้ทำการทดลองเพื่อดูว่าตัวอ่อนภายในไข่นั้นมีการขยับและปรับตัวเองภายในอย่างไรก่อนที่จะฟักออกมา ซึ่งพวกเขาได้ทดลองจากซากไข่ยิงเหลียง และ ซากไข่อื่น ๆ จนได้ข้อสรุปว่า ตัวอ่อนของไดโนเสาร์จะปรับทิศการนอนใน ลัษณะเดียวกับที่ นก ที่ปรับตัวเพื่อเตรียมฟักออกจากไข่ ซึ่งการปรับตัวเช่นนี้เป็นพฤติกรรมที่จำเป็นเพื่อให้นกและไดโนเสาร์สามารถฟักไข่ได้สำเร็จ 

 

 

ที่มาข้อมูล:
https://edition.cnn.com/2021/12/21

ที่มารูปภาพ:
LIDA XING

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ