Lifestyle

เช็กอาการ "ปวดเข่า" ว่าเข้าข่ายเข่าเสื่อมหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การปวดเข่ามาจาก "ข้อเข่า" ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ล้วนส่งผลกระทบต่อเข่าได้

รู้จัก "ข้อเข่า"

"ข้อเข่า" ประกอบด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง ลูกสะบ้า นอกจากนี้ยังมีอวัยวะที่สำคัญอย่าง กระดูกอ่อน และน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าที่ทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของข้อเข่า นอกจากนี้ยังมีเอ็นรอบ ๆ ข้อเข่า เอ็นไขว้หน้า เอ็นไขว้หลังที่อยู่ด้านใน ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงของเข่าและหมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกบริเวณเข่า ช่วยดูดซับและกระจายแรงจากน้ำหนักตัว
 

เช็กอาการ \"ปวดเข่า\" ว่าเข้าข่ายเข่าเสื่อมหรือไม่

 

"ปวดเข่า" ต้องมีสาเหตุ

อาการปวดเข่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • เส้นเอ็น (Ligament) หากมีการใช้งานซ้ำ ๆ เช่น นักกีฬาที่มีการใช้งานเข่าซ้ำ ๆ อาจส่งผลให้เส้นเอ็นลูกสะบ้าทำงานหนัก ทำให้อักเสบหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬาหรือฝึกซ้อม การกระทบกระแทกรุนแรงจากการแข่งขันกีฬา เกิดการล้มเข่าบิด อาจทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อเข่าหรือเอ็นไขว้หน้าด้านในฉีกขาด ส่งผลให้เกิดการปวดบวมเข่า ข้อเข่าไม่มั่นคงได้

 

  • กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดเข่าได้เช่นกัน ที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกอ่อนลูกสะบ้า โดยอาจเป็นร่วมกับเอ็นลูกสะบ้าอักเสบได้ เกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ หรือมีการกระแทกซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบหรือสึกหรอขึ้นบริเวณกระดูกอ่อน หรือจากการงอเข่า นั่งยองเป็นประจำ การใช้งานข้อเข่าในการเดินขึ้นลงบันได ร่วมกับกล้ามเนื้อโดยรวมของสะโพกและขาไม่แข็งแรงมากพอ ก็ส่งผลทำให้คนไข้เกิดอาการปวดเข่าได้ หากเกิดการบาดเจ็บรุนแรง กระดูกอ่อนอาจจะหลุดร่อนเป็นชิ้นมาขัดในข้อเข่าได้ 

 

  • หมอนรองกระดูก (Meniscus) ปัญหาของหมอนรองกระดูกอาจเกิดจากความเสื่อมของเนื้อหมอนรองกระดูกตามการใช้งานตามอายุ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา กระดูกอ่อนเกิดการเสียดสีกันไปเรื่อย ๆ เกิดการสึกหรอไปเรื่อย ๆ กลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ ทั้งนี้สาเหตุอื่น ๆ เช่น การหกล้มหรือลื่นไถลผิดท่าอาจจะทำให้หมอนรองกระดูกที่มีความเสื่อมอยู่แล้วฉีกขาดรุนแรงมากขึ้นได้  แต่ในคนที่อายุน้อย ไม่ได้มีปัญหาความเสื่อมของหมอนรองกระดูก หากประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกฉีกขาดและมีอาการปวดเข่าได้เช่นกันในทุกเพศทุกวัย
  • ภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็จะมีอาการปวดเช่นกัน โดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากปวดด้านในข้อเข่า หากอาการเสื่อมเป็นรุนแรงขึ้นก็จะทำให้ปวดทั่ว ๆ หัวเข่าตามมา ซึ่งสาเหตุข้อเข่าเสื่อมอาจจะเกิดจากมีการบาดเจ็บของส่วนต่าง ๆ ในข้อเข่า เช่น เส้นเอ็น หรือหมอนรองกระดูก และถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงที
     

เช็กอาการ \"ปวดเข่า\" ว่าเข้าข่ายเข่าเสื่อมหรือไม่

 

การป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดอาการปวดเข่า (ข้อเข่าเสื่อม)

• คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะกับอายุและอาชีพ
• อายุยิ่งมากกระดูกก็ยิ่งบาง ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
• ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได
• นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก
• นั่งเก้าอี้ที่สูงพอเข่าตั้งฉากเท้าถึงพื้น (ไม่ควรนั่งโซฟานิ่ม ๆ ) ไม่นั่งกับพื้นนาน ๆ
• หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ
• การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน)

 

หากอาการ "ปวดเข่า" ไม่ดีขึ้น 
ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป  ถ้าทิ้งไว้นานๆกระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม  (โก่งออกด้านข้าง)  จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ ซึ่งจะต้องถึงขั้นผ่าตัด  หรือใส่ข้อเข่าเทียมถ้าทุเลาปวด ยุบบวมให้เริ่มบริหารเข่า




ที่มาข้อมูล :
https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms.php
https://www.bangkokhospital.com/content/knee-pain-may-not-just-be-osteoarthritis

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ