Lifestyle

เมืองไทยที่คิดถึง : “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” หอนาฬิกาอารยะที่หายไป

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” หรือ หอนาฬิกาแรกแห่งชาติถูกสร้างขึ้นมาจากพระราชดำริรัชการที่ 4 ทรงไม่ต้องการให้อารยะประเทศมาเย้ยหยันสยามที่ใช้เครื่องนับทุบโมงในการบอกเวลา

น้อยคนนักที่จะรู้ประวัติศาสตร์ของหอนาฬิกา "พระที่นั่งภูวดลทัศไนย" หรือหอที่เห็นในภาพนี้ว่าเป็นหอนาฬิกาที่สร้างขึ้นมาก่อน หอนาฬิกาบิ๊กเบน แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นหอที่ทำให้ประเทศไทยมีเวลามาตรฐานเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานก่อนที่ประเทศตะวันตกจะกำหนดเส้นลองจิจูด 0° ที่ผ่านหอดูดาวกรีนิช กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรเป็นจุดแรกของการกำเนิดเวลาอันเป็นมาตรฐานเวลาของสากล

พระที่นั่งภูวดลทัศไนย
 

"…จะเป็นเหตุให้เขาหัวเราะเยาะเย้ยได้ว่าเมืองเรา ใช้เครื่องมือนับทุ่มโมง  เวลาหยาบคายนักไม่สมควรเลย เพราะเหตุฉะนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพินิจพิจารณาตรวจตราคำนวณความดำเนินพระอาทิตย์ ให้ฤดูทั้งปวงสอบกับนาฬิกา ที่ดีมาหลายปีทรงทราบถ้วนถี่ทุกประการ แจ้งในพระราชหฤทัยแล้ว…"
         

                                                              -  ประกาศรัชกาลที่  4  ฉบับที่  306,  พ.ศ.  2411

 

 การสร้าง "พระที่นั่งภูวดลทัศไนย" 

หมู่พระอภิเนาพิเนศน์

ปี พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ก่อสร้างพระราชมณเฑียรที่ประทับขึ้นในพระบรมมหาราชวัง  ณ  บริเวณสวนขวา แล้วเสร็จในปี  พ.ศ.  2400  พระราชทานนามหมู่พระราชมณเฑียรนั้นว่า "พระอภิเนานิเวศน์" ทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรและขึ้นประทับเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน  6  ขึ้น 4 ค่ำ พ.ศ.  2402  

 

"พระอภิเนานิเวศน์"  ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ  หลายองค์  องค์หนึ่งคือ  "พระที่นั่งภูวดลทัศไนย"  ตั้งอยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม (เดิม)  ซึ่งเป็นพระที่นั่งตึกสูง  5  ชั้น  ชั้นบนสุดติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้ง 4 ด้าน  มีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวง เพื่อทำหน้าที่บอกและรักษาเวลามาตรฐาน  เพื่อมิให้สยามถูกเย้ยหยันจากต่างชาติว่ายังใช้การตีกลองบอกเวลาซึ่งมักจะคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ  ดังปรากฏในประกาศรัชกาลที่  4  ฉบับที่  306,  พ.ศ.  2411


"พระที่นั่งภูวดลทัศไนย" และ "พระอภิเนานิเวศน์"ทั้งหมดถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายคาร์โล อาเลกรี วิศวกรโยธาชาวอิตาเลียนที่รับราชการในยุคนั้น เข้ามาตรวจสภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระอภิเนาว์นิเวศน์พบว่าพระที่นั่งองค์นี้ชำรุดเสียหายมาก เนื่องจากพื้นที่ในก่อสร้างนั้น เดิมเคยเป็นสระน้ำที่นำดินมาถม จึงทำให้อาคารทรุดลงจนต้องรื้อทิ้งอย่างน่าเสียดาย จนทำให้รัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชกระแสให้รื้อและเก็บเสาและศิลาที่ยังได้ไว้ใช้ในการอื่น

เมืองไทยที่คิดถึง : “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” หอนาฬิกาอารยะที่หายไป


เมืองไทยที่คิดถึง : “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” หอนาฬิกาอารยะที่หายไป

 

ความสนใจดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 

เมืองไทยที่คิดถึง : “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” หอนาฬิกาอารยะที่หายไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยดาราศาสตร์เมื่อทรงพระเยาว์ ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา 27 ปี ทรงมีกรณียกิจหลายด้าน ทรงศึกษาภาษามคธ (บาลี) จนสามารถแปลพระปริยัติธรรมได้อย่างแม่นยำทรงใช้เวลาศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ รวมทั้งศาสตร์แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาไปจนถึง เรขาคณิต ตรีโกณมิติ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ  
 

หนึ่งในพระปรีชาสามารถที่ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับจากอารยะสากล ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือจนชาวไทยและชาวโลกถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

 

 

ที่มาข้อมูล :
www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_11758
www.astroeducation.com/bangkok-mean-time-the-thailand-standard-time/
http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_bicentennial/kingmongkut_bicentennial.html
http://sci.buu.ac.th/sciweek/index.php/exhibition/exhibition-commemoration/exhibition-kingofscience

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ