
"อุทยานแห่งชาติสีเขียว" ชื่อนี้มีที่มา
บรรดานักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย คงเคยได้ยินคำว่า “อุทยานแห่งชาติสีเขียว”(Green National Parks) มาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่า “อุทยานแห่งชาติสีเขียว” คืออะไร มีที่มาอย่างไร และเหตุใดจึงเรียกว่า “อุทยานแห่งชาติสีเขียว”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแสะสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินโครงการ "อุทยานแห่งชาติสีเขียว" (Green National Park) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศักยภาพของอุทยานแห่งชาติ ให้เกิดการใช้ประโยชน์และทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแว่ดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
อุทยานแห่งชาติไทรทอง
โครงการ "อุทยานแห่งชาติสีเขียว" (Green National Park) ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้อุทยานแห่งชาติต่างๆ กระตือรือร้นและตื่นตัวในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้อุทยานแห่งชาติปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ดียิ่งในการส่งเสริมให้อุทยานแห่งชาติ มีการยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการจัดการอุทยานแห่งชาติให้ได้มาตรฐานสู่สากลอย่างยั่งยืนต่อไป
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
เกณฑ์การประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) ประกอบด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 17 ข้อ มีคะแนนเต็มข้อละ 4 คะแนน รวมทั้งหมด 68 คะแนน อุทยานแห่งชาติที่ผ่านการประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85 ขึ้นไป โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
- การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
- การจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า
- การลดปริมาณขยะ โดยใช้หลัก 3Rs
- การคัดแยกขยะ
- การเก็บรวบรวมขยะก่อนนำไปกำจัด
- การกำจัดขยะ
- การจัดการด้านน้ำเสีย
- การจัดการห้องน้ำ-ห้องสุขา
- การจัดการความสะอาดและความเป็นระเบียบ
- การจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณร้านอาหาร
- การบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว
- การจัดการพื้นที่กางเต็นท์
- การปรับปรุงภูมิทัศน์
- การส่งเสริมและความร่วมมือกับชุมชน/ภาคีเครือข่ายในพื้นที่
- การจัดการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- การจัดการร้านขายของที่ระลึก
- การจัดการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
สำหรับผลการตรวจประเมิน “อุทยานแห่งชาติสีเขียว” ประจำปี 2564 ซึ่งอุทยานแห่งชาติที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินจะได้รับโส่รางวัลพร้อมเกียรติบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 23 แห่ง ได้แก่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
ระดับทอง คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 12 แห่ง ได้แก่
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
- อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
- อุทยานแห่งชาติไทรทอง
- อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
- อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
- อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
- อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
- อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
- อุทยานแห่งชาติพุเตย
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ระดับเงิน คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
- อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลารู่
- อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
- อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
- อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติพุเตย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
ระดับทองแดง คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
- อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
- อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
- อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
- อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
- อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย