Lifestyle

5 เคล็ดลับเติมกำลังใจให้ผู้ป่วย "มะเร็ง"

ผู้ป่วย "มะเร็ง" นอกจากจะต้องได้รับการดูแลและฟื้นฟูร่างกายแล้ว การดูแลและฟื้นฟูจิตใจก็สิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ข้อมูลสถิติ "โรคมะเร็ง" ในประเทศไทย พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 แล้ว อีกทั้งยังมีแนวโน้มการตายสูงขึ้นในทุกปี

 

สำหรับผู้ที่ป่วยด้วย “โรคมะเร็ง” การดูแลอย่างใกล้ชิดนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่นอกจากจะต้องได้รับการดูแลและฟื้นฟูร่างกายแล้ว การดูแลและฟื้นฟูจิตใจก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะบางคนเมื่อเป็นโรคร้ายนี้ก็อาจจะท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจ หรือเครียดจากอาการป่วยที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเราข้อแนะนำเพื่อให้ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่คอยดูแลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ได้มาฝาก

5 เคล็ดลับเติมกำลังใจให้ผู้ป่วย \"มะเร็ง\"

 

ข้อแนะนำเพื่อให้ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่คอยดูแลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ได้

1. ลดความกังวลและเติมกำลังใจ : ให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับครอบครัว คนใกล้ชิด และเพื่อนฝูง เพื่อระบายความกังวลใจ ส่วนญาติหรือเพื่อน ๆ คอยเติมกำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยก้าวผ่านความทุกข์ ความกังวลใจไปได้ หลีกเลี่ยงการพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเรื่องแง่ลบของโรคมะเร็ง

 

2. ออกกำลังกายและหมั่นทำกิจกรรมต่างๆ : ญาติหรือเพื่อน อาจจะพาผู้ป่วยออกกำลังกาย ขยับตัวสม่ำเสมอ เช่น เดินเล่นในสวน ทำงานบ้านง่าย ๆ นั่งพูดคุยหรือเล่นดนตรีง่ายๆ ที่ทำร่วมกันได้ เพื่อช่วยให้ร่างกายสดชื่น และหมั่นให้ผู้ป่วยขยับเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ไม่นอนติดเตียงหรือนั่งเก้าอี้

 

3. ปรับพฤติกรรมการกิน : ญาติหรือเพื่อนอาจจะปรับเปลี่ยนสถานที่กินอาหารของผู้ป่วย เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ไปนั่งกินข้าวริมระเบียง หรือส่วนอื่นๆ ของบ้านที่อากาศถ่ายเท มีต้นไม้หรือดอกไม้ ทั้งนี้ผู้ป่วยเองต้องพยายามกินในจำนวนมื้อที่บ่อยขึ้น งดอาหารหวาน งดอาหารเค็ม และหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด หมักดอง

 

4. ศึกษาเพิ่มเติมเสริมการรักษา : ญาติหรือเพื่อนอาจจะศึกษาดูข้อมูลในเรื่องของผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มเติม เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างดี ในส่วนของผู้ป่วยเองควรศึกษาและรู้จักธรรมชาติของโรค เพื่อที่จะได้เข้าใจและตั้งรับถึงการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวล รวมถึงพัฒนาสภาพจิตใจได้

 

5. ยอมรับแล้วก้าวต่อไป : ญาติหรือเพื่อนต้องยอมรับและเข้าใจสถานการณ์ก่อน จึงจะไปสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยต่อได้ ซึ่งกำลังใจจากคนใกล้ชิดเป็นยาบรรเทาที่จะช่วยให้จิตใจผู้ป่วยดีขึ้นได้ และผู้ป่วยเองก็ต้องยอมรับให้ได้เช่นกัน เพราะถ้ายิ่งยอมรับได้เร็วเท่าไรก็จะสามารถช่วยจัดการปัญหาได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

ข่าวยอดนิยม