Lifestyle

เผยเบื้องหลังการรำในพิธีสักการะ "ท้าวมหาพรหม"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผยเบื้องหลังความพิเศษของการรำในพิธีสักการะท้าวมหาพรหม ในบทเพลงที่ประพันธ์ใหม่ประกอบท่วงท่ารำอ่อนช้อยที่ออกแบบขึ้น เพื่อใช้ในการสักการะท้าวหมาพรหมในปี 2564 นี้โดยเฉพาะ

ในศาสนาพราหมณ์โบราณเชื่อว่า “ท้าวมหาพรหม” คือเทพเจ้าที่ทรงอำนาจและยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาเทพทุกองค์ เนื่องจากพระองค์มีศักดิ์และสิทธิ์ในการชี้ขาด ในการกำเนิด การดำรงอยู่ และการตายของทุกสรรพสิ่ง โดยยึดเอากรรมของแต่ละคนเป็นที่ตั้ง พระองค์ทรงปลูกฝังให้มนุษย์ทุกคนยึดถือในคุณธรรมความดีและไม่ปลงชีวิตผู้อื่นตามอำเภอใจ รวมถึงการมีเมตตาต่อผู้อื่นและการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบเเทน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วเเต่เป็นคำสอนของพระองค์ ซึ่งวันนี้เราจะมาเผยเบื้องหลังของการรำในพิธีสักการะ "ท้าวมหาพรหม" ในบทเพลงที่ประพันธ์ใหม่ประกอบท่วงท่ารำอ่อนช้อยที่ออกแบบขึ้น เพื่อใช้ในการสักการะท้าวหมาพรหมในปี 2564 นี้โดยเฉพาะ

เผยเบื้องหลังการรำในพิธีสักการะ \"ท้าวมหาพรหม\"

เบื้องหลังการรำบวงสรวงถวายท้าวมหาพรหม หาชมยากเพียงปีละครั้ง (วันที่ 9 พ.ย.ของทุกปี)

ในสมัยโบราณการรำถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะใช้การรำถวายมือ ประกอบไปด้วย 3 เพลง คือ เพลงช้า เพลงเร็ว และเพลงลงลา แต่นับตั้งแต่ปี 2519 การรำถวายท่านท้าวมหาพรหม จะนำเอาชุดที่มีการร้องเข้ามาประกอบ อาทิ ระบำเทพบรรเทิง ระบำดอกบัว เพื่อที่จะมีการร้องและรำไปด้วยกัน

เผยเบื้องหลังการรำในพิธีสักการะ \"ท้าวมหาพรหม\"

สำหรับการรำถวายสักการะท่านท้าวมหาพรหมใช้เพลงชื่อ “สักการะท่านท้าวมหาพรหม” ที่คณะจงกล โปร่งน้ำใจ บูรพศิลปินกระทรวงวัฒนธรรม ประพันธ์ขึ้นสำหรับท่านท้าวมหาพรหมโดยเฉพาะ รวมถึงท่ารำที่เรียงร้อยขึ้นมาใหม่ประยุกต์กับท่ารำแบบโบราณ จึงมีความพิเศษกว่าการรำปกติทั่วไป โดยเนื้อเพลงเป็นการไหว้ สักการะ สรรเสริญ ขอพร ให้องค์ท่านท้าวมหพรหม ได้ปกปักรักษาประชาชนผู้ที่มีความศรัทธาที่มาร่วมสักการะบวงสรวงในวันสำคัญนี้

 

การรำถวายในวันสักการะประจำปีจึงมีความแตกต่างจากการรำทั่วไปที่ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างว่าจะถวายนางรำจำนวนเท่าไรเพื่อแก้บน แต่ในครั้งนี้เป็นการเจาะจงถวาย 9 นางรำ ซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขมงคลของคนไทย เพื่อความเจริญก้าวหน้า

เผยเบื้องหลังการรำในพิธีสักการะ \"ท้าวมหาพรหม\"

 

 

 

 

‘นางรำแก้บน’ การสืบสานงานศิลป์ของรากเหง้าวัฒนธรรมและความศรัทธา

แม้การรำบวงสรวงจะจัดเพียงปีละ 1 ครั้ง หากแต่นางรำแก้บนที่ประจำอยู่ ณ ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ โดยคณะจงกล โปร่งน้ำใจ บูรพศิลปินกระทรวงวัฒนธรรม ยังคงเป็นผู้สืบสานงานศิลปะดั้งเดิมและสืบทอดความเชื่อ ความศรัทธา เสมือนสะพานสื่อสารระหว่างผู้ศรัทธากับองค์เทพฯ มาตั้งแต่ปี 2519 โดยในทุกวันที่ 9 พ.ย.ของทุกปีจะถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ เหล่านางรำจะมีการเปลี่ยนชุดรำและเครื่องทรงเพื่อถวายให้แก่ท่านท้าวมหาพรหม สำหรับชุดล่าสุดนี้ถือเป็นเจนเนอเรชั่น 3 แล้ว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ