Lifestyle

ทำอย่างไรวงการบันเทิงไทย ถึงไปได้ไกลเหมือน เคป็อป (K-POP)?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเทศเกาหลีใต้ได้ทำให้เราเห็นแล้วว่าเขาสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศด้วย "อุตสาหกรรมบันเทิง" และ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างมหาศาล คุณเคยตั้งคำถามไหมว่าทำไมประเทศเราถึงไม่เป็นอย่างเข้าบ้าง?

รู้หรือไม่ว่าอุตสาหกรรมบันเทิง K-POP ได้สร้างเม็ดเงินให้กับคนในประเทศเกาหลีใต้อย่างมหาศาล จากจุดเริ่มต้นจากซีรีย์อย่าง 'แดจังกึม' และ 'Full House' สะดุดรัก...ที่พักใจ ที่สร้างฐานแฟนคลับได้จากหลายประเทศทั่วโลก ทำให้วัฒนธรรมเกาหลีที่แอบแฝงอยู่ในซีรีย์ไม่ว่าจะ อาหาร ภาษา การแต่งตัว สถานที่ท่องเที่ยว ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้ได้ก่อตัวเป็น "อุตสาหกรรมสร้างสรรค์" ของเกาหลีใต้ ทีนี้ตัดภาพมาที่ประเทศไทย หากเราต้องการจะพัฒนาประเทศด้วยอุตสากรรมสร้างสรรค์บ้าง คำถามคือ เราจะทำได้ไหม และ เราต้องทำอย่างไร? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับ ความคิดสร้างสรรค์กันก่อนดีกว่า

ความคิดสร้างสรรค์ คืออะไร

ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการนำความรู้และประสบการณ์จากหลากหลายสาขาวิชามาสังเคราะห์เพื่อการคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่าหรือดีขึ้น

 

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และ การศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับ "วัฒนธรรม" พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม

 

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยทั้ง 15 อุตสาหกรรม
และตัวอย่างผลงานที่ได้รับการยอมรับระดับสากล

1.งานฝีมือและหัตถกรรม

ผ้าย้อมคราม / ผ้าไทย ที่มารูปภาพ : www.mixandmatch1989.

ทำอย่างไรวงการบันเทิงไทย ถึงไปได้ไกลเหมือน เคป็อป (K-POP)?

2. ดนตรี

เก่ง ธัชยะ กับการชูดนตรีไทย

3. ภาพยนตร์ และ วีดีทัศน์

ภาพยนตร์ลุงบุญมีระลึกชาติ

4. การโฆษณา

โฆษณาสะท้อนแนวคิดจากไทยประกันชีวิต

 

5. สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมวัดต่าง ๆ เช่น วัดพระแก้วมรกต

วัดร่องขุ่น

6. อุตสาหกรรมแฟชั่น

ชุดไทยจากแบรนด์ อาซาว่า (Asava)

7. อาหารไทย

ผัดไทย : อาหารไทยจานโปรดของคนทั่วโลก

8. การแพทย์ไทย / การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

นวดแผนไทย

9. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

10. การแพร่ภาพและกระจายเสียง

11. การพิมพ์

12. การออกแบบ

13. ซอฟต์แวร์

14. ทัศนศิลป์ 

15. ศิลปะการแสดง

จากตัวอย่างนี้เราได้เห็นว่าจริง ๆ ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ดีไม่น้อยไปกว่าประเทศเกาหลีใต้ แต่สิ่งที่ต่าง คือ ประเทศเกาหลีใต้นำ “อุตสาหกรรมบันเทิง” บันทึกลงกระดูกสันหลังประเทศ หรือ ยกร่างลงกฏหมาย ทำให้รัฐบาลเขาสามารถจัดลำดับความสำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน ในทางกลับกัน ประเทศไทยถึงแม้จะมีธุรกิจที่ดีในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากมาย แต่เราเพียงขาดโอกาส และ การส่งเสริมจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้ไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม ที่เกาหลีใต้ชูวงการบันเทิงขึ้นมาได้ เพราะ เขาเรียนรู้จากประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่สร้างรายได้มากมายจากวงการบันเทิงและภาพยนตร์ อย่าง ‘จูรัสสิค ปาร์ค’ 

 

ดังนั้นมันอาจไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าประเทศไหนควรจะเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมใด แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ หาก ประเทศไหนที่ต้องการจะพัฒนาด้านใด ก็ควรที่จะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยตรง โดยให้คนที่มีความรู้ ความสามารถในด้านนั้น ๆ เป็นผู้นำทาง 

 

logoline