Lifestyle

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ “ผ่าตัด” เปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การเปลี่ยน "อัตลักษณ์ทางเพศ" ถือเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและยอมรับมากขึ้นในสังคม แต่สำหรับคนที่ต้องการ "ผ่าตัด" เพื่อเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศ อาจต้องเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การผ่าตัดส่งผลดีต่อตัวเองในระยะยาว

คนข้ามเพศ คือ คนที่มีเพศสภาพและเพศกำเนิดไม่สอดคล้องกัน อธิบายอย่างง่ายคือคนที่เกิดมาด้วยปัจจัยทางชีวภาพ อย่างหนึ่ง และ สภาพจิตใจอีกอย่างหนึ่ง โดยปัจจุบันมีเกณฑ์ทางการแพทย์ชื่อว่า DSM-5 ในการวินิจฉัยความรู้สึกขัดแย้งทางเพศ (GENDER DYSPHORIA) โดยใช้เกณฑ์ของอาการเพียง 2 ใน 6 ข้อ โดยต้องเป็นต้องมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และก่อให้เกิดความทุกข์ใจหรือมีความคับข้องใจจนโดยไม่ได้มีโรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตจำเป็นต้องเข้ารับการบริการเพื่อการข้ามเพศทั้งชายที่ต้องการเปลี่ยนเป็นหญิง และหญิงที่ต้องการเปลี่ยนเป็นชาย

 

 

ขั้นตอนทางการแพทย์ในการดูแลเปลี่ยนแปลงให้เป็นเพศตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศ

1. ประกาศตนเองต่อสังคม

2. รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็น ความรู้สึกขัดแย้งทางเพศ (GENDER DYSPHORIA) โดยไม่ได้มีโรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตที่อาจมาด้วยอาการคล้ายกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด

3. ยับยั้งการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในรายที่อายุยังน้อย เพื่อรอเวลาในการวินิจฉัยให้ชัดเจนก่อนจะชักนำด้วยการรักษาให้เป็นเพศที่ตรงกับจิตใจและตัวตนของคนไข้ในภายหลัง

4. เปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยไม่ได้ใช้ฮอร์โมนและการผ่าตัด เช่น ชายข้ามเพศ เล่นกล้าม รัดหน้าอก หรือหญิงข้ามเพศ ใส่วิกผม แรเงาร่องอก ใส่ซิลิโคนเสริมด้านนอก เป็นต้น

5. วินิจฉัยถูกต้อง พิจารณาใช้ฮอร์โมน การผ่าตัดตกแต่งใบหน้า ผ่าตัดหน้าอก และการผ่าตัดแปลงเพศในรายที่ต้องการและมีความพร้อม
 

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ “ผ่าตัด” เปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศ

 

หลักการให้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ

1. ควรให้คำแนะนำเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ เรื่อง ธนาคารอสุจิ การแช่แข็งไข่ เพื่อโอกาสของการมีบุตรของตนเอง หากมีกฎหมายรองรับในอนาคต

2. กดการสร้างฮอร์โมนเพศกำเนิดตาม WPATH (World professional association transgender health) เริ่มใช้ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง

3. เพิ่มฮอร์โมนเพศใหม่ ให้เป็นเพศที่ตรงกับจิตใจ

4. มีมาตรการความปลอดภัย โดยคัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมนในขนาดไม่สูงเกินไปแต่ได้ผลและตรวจติดตามระดับฮอร์โมนและเฝ้าระวังผลข้างเคียงเป็นระยะตามมาตรฐาน

 

หลักเกณฑ์การผ่าตัดเพื่อการข้ามเพศ

คนไข้ต้องได้รับฮอร์โมนและได้ทดลองใช้ชีวิตอย่างอิสระในเพศที่ตรงกับจิตใจอย่างน้อย
1 ปี ตามเกณฑ์ WPATH (World professional association transgender health) สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี โดยได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง หรืออายุครบ20 ปีบริบูรณ์ สามารถเซ็นหนังสือยินยอมได้ด้วยตนเอง โดยขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศต้องใช้ใบรับรองจากจิตแพทย์ 2 ท่าน


ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:

www.phyathai.com
www.unsplash.com

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ