Lifestyle

ไทยร่วมชม “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” มุ่งช่วยโลกแก้ปัญหาสารปรอทตกค้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” ภาพยนตร์ตีแผ่ผลกระทบสารปรอทจากการลักลอบปล่อยน้ำเสียอุตสาหกรรมบริเวณอ่าวมินามาตะ เมืองมินามาตะจังหวัดคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทยเตรียมพร้อมการเข้าร่วมประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4  โดยสำนักควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิบูรณนิเวศจัดเสวนาและเปิดรับชมภาพยนตร์ตีแผ่ผลกระทบ ปรอทจากการลักลอบปล่อยน้ำเสียอุตสาหกรรม เรื่อง “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ SFX เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ที่พยายามสะท้อนปัญหา 'การปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีที่ปนเปื้อนปรอทโดยไม่ผ่านการบำบัดในอดีต ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารปรอทในอ่าวมินามาตะ สะสมในปลา ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเมืองมินามาตะ จึงทำให้สารปรอทส่งผลกระทบทางสุขภาพของชาวเมือมินามาตะ โดยเฉพาะลูกหลานของชาวเมืองที่ได้รับถ่ายทอดสารปรอทจากมารดา' โดยมีนายอรรถพล เจริญชันษา  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  เข้าร่วมการเสวนา

ไทยร่วมชม “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” มุ่งช่วยโลกแก้ปัญหาสารปรอทตกค้าง

ไทยร่วมชม “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” มุ่งช่วยโลกแก้ปัญหาสารปรอทตกค้าง

 

โรคมินามาตะหรือพิษปรอท เกิดจากสารปรอททำลายเนื้อเยื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง  เริ่มแรกมีอาการชาที่มือและเท้า อาการลามขึ้นไปถึงแขน ขา และริมฝีปาก ต่อมาม่านตาหรี่เล็กลง จิตใจรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย พูดช้าและไม่เป็นภาษา ฟังไม่ได้ยิน การใช้มือ เท้า และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆไม่สัมพันธ์กันจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น การรับประทานอาการ เป็นต้น อาการแขน ขา มือ เท้า สั่น และชักกระตุกจะปรากฏให้เห็นได้ชัด ในรายที่อาการหนักมากอาจควบคุมสติไม่ได้ และพูดตะโกนไม่เป็นภาษา มีอาการวิกลจริตอย่างอ่อน ๆ กรีดร้อง มีการกระตุกตัวแข็ง แขนขาบิดงออย่างรุนแรงอาการมากน้อยตามปริมาณความเข้มข้นของสารปรอทที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย

 

ไทยร่วมชม “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” มุ่งช่วยโลกแก้ปัญหาสารปรอทตกค้าง

ต่อมาเรื่องราวนี้ได้ถูกเปิดเผยสู่ชาวโลกโดยนักข่าวและช่างภาพชาวอเมริกัน จนทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนใจและจัดการกับปัญหาดังกล่าว มีการฟื้นฟูอ่าว มินามาตะและดูแลผู้ป่วย และมีการชดเชยเยียวยาให้แก่ชาวเมือง 

 

ไทยร่วมชม “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” มุ่งช่วยโลกแก้ปัญหาสารปรอทตกค้าง

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว หลายประเทศและองค์กรมีการติดตามตรวจสอบสารปรอทในสิ่งแวดล้อม และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติพบว่าระดับปรอทในสิ่งแวดล้อมโลกสูงขึ้นจนต้องให้ความสนใจ จึงได้เสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีประศาสน์การ (Governing Council: GC) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) สมัยที่ 25 ระหว่างวันที่ 16 – 20 กุมภาพันธ์ 2552 พิจารณาและมีมติให้จัดทำมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านการจัดการปรอท มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายของปรอทที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และให้จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านการจัดการปรอท หรือ Intergovernmental Negotiating Committee (INC) to prepare a global legally binding instrument on mercury ขึ้น เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการดังกล่าวร่วมกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ และพัฒนาเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศต่อไป


 

การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านการจัดการปรอท (INC) สมัยที่ 5 (INC-5) ระหว่างวันที่ 13 – 18 มกราคม 2556 ซึ่งคณะกรรมการ INC ร่วมกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันร่างอนุสัญญาแล้วเสร็จ และมีมติให้เรียกชื่อว่า “อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (The Minamata Convention on Mercury)” นอกจากนี้ อนุสัญญามินามาตะฯ ยังได้รับการรับรอง (Adoption) และเปิดให้มีการลงนาม (Signatures) เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่การประชุม Conference of Plenipotentiaries on the Minamata Convention on Mercury ระหว่างวันที่ 10 – 11 ตุลาคม 2556 ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยปัจจุบันมีประเทศร่วมลงนาม 128 ประเทศ และเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญามินามาตะฯ แล้ว 135 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2564)

 

นายอรรถพล กล่าวว่า  สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยภาคยานุวัติ (Accession) เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ พร้อมทั้งเห็นชอบให้แต่งตั้งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับหน้าที่ศูนย์ประสานงาน (National focal point) ของอนุสัญญามินามาตะฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ในการนี้ ประเทศไทยจึงได้จัดส่งภาคยานุวัติสารให้กับองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 จึงส่งผลให้ประเทศไทยเป็นภาคีลำดับที่ 66 และอนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2560 เป็นต้นมา

 

กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นความพยายามสะท้อนปัญหาการจัดการปรอทก่อนการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบออนไลน์ ที่มีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 5 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งจะมีการพิจารณาแผนงานและเป็นงบประมาณของสำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท คู่มือการติดตามตาวจสอบปรอท คู่มื่อการจัดทำรายงานระดับชาติ รายงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกในการสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และเพื่อทราบความก้าวหน้าในการจัดทำปฎิญญาบาหลีในการต่อสู้กับปัญหาการค้าปรอทผิดกฏหมาย และการแก้ไขภาคผนวกเอ และบี ในการห้ามผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เติมปรอทชนิดใหม่ และกระบวนการผลิตที่ใช้ปรอทในกระบวนการ เพื่อหารือในการประชุมรัฐภาคีสมัยที่ 4 ในรูปแบบการพบหน้า (in person meeting) ในเดือนมีนาคม 2565 ต่อไป นายอรรถพล กล่าว


 

logoline