
“ปวดหลัง” เพราะอะไร แก้เองอย่างไรได้บ้าง?
ปวดหลังเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของคนทำงาน แต่ปวดหลังแบบไหนที่ควรพบแพทย์ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และสงสัยว่าต้องพบแพทย์หรือไม่สามารถสังเกตอาการของตนเอง หาก มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน ทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็อาจลองไปปรึกษาแพทย์ดูได้
อาการปวดหลังเกิดจากอะไร
ลักษณะ 1 : อาการตึง หดเกร็ง หรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อส่วนหลังบางส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ยกของหนักหรือยกในท่วงท่าที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อน ไหวที่ผิดท่าทางไปจากเดิมอย่างกะทันหัน เช่น การล้ม การเกิดอุบัติเหตุ อิริยาบถอย่างการนั่ง การนอน หรือการยืนที่ไม่เหมาะ สมอย่าง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ลักษณะที่ 2 : อาการที่เกิดจากปัญหาของโครงสร้างร่างกายอย่างกระดูกสันหลัง ทั้งการเสื่อมของกระดูกสันหลัง #หมอนรองกระดูกอักเสบ ข้อต่ออักเสบ การหักหรือร้าวอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือการกระแทกอย่างรุนแรง
ลักษณะที่ 3 : อาการที่เกี่ยวเนื่องจากมาจากโรคอื่น ๆ ซึ่งจะมีอาการปวดร้าวมาถึงแผ่นหลัง เช่น นิ่วในไต ภาวะกรวยไตอักเสบ
ปวดหลังแบบไหนที่ควรพบแพทย์
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และสงสัยว่าต้องพบแพทย์หรือไม่สามารถ สังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย
- มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน ทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- ปวดหลังร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย
- มีอาการก่อนแรงของขากระดกข้อเท้าไม่ได้
1. ลดอาการปวดด้วยการประคบร้อนและเย็น
สำหรับคนที่มีอาการปวดหลังในระยะเริ่มต้น การประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง จะช่วยลดแผลอักเสบหรือการบวมได้ด้วยการลดการไหลของเลือด สามารถช่วยลดอาการปวดได้ โดยให้วางไว้ 20 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง ส่วนการประคบด้วยความร้อน จะช่วยในการบรรเทาการปวดของกล้ามเนื้อ โดยหาจุดที่ปวดให้เจอแล้วประคบร้อนบริเวณนั้น
2. นอนราบแผ่นหลังติดพื้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง
เมื่อมีอาการปวดหลังเกิดขึ้น ให้มองหาที่นอนที่ไม่นุ่มและไม่แข็งจนเกินไป แต่มีพื้นแบนราบพอที่จะนอนลงไปได้ สบายๆ เช่น เสื่อโยคะ จากนั้นดันแผ่นหลังให้ติดพื้น แขนทั้งสองข้างอยู่แนบกับลำตัว พร้อมเกร็งหน้าท้องค้างไว้ ประมาณ 10 วินาที แล้วพัก จากนั้นทำซ้ำราว 2-3 ครั้ง ช่วยให้แผ่นหลังที่อ่อนล้า ปวดเมื่อย กลับเข้ามาอยู่ในสภาพปกติ จัดเรียงกระดูกและกล้ามเนื้อให้กลับมาเข้าที่เหมือนเดิม ซึ่งเป็นท่าง่ายๆ ที่ช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ
3. ท่าโยคะนั่งไขว้ขา บิดเอว
ท่านี้จะช่วยผ่อนคลายอาการปวดหลังส่วนล่าง เมื่อยล้า ช่วยยืดเยียดกระดูกสันหลัง เปิดหัวไหล่ คอ และสะโพก เพิ่มความยืดหยุ่นบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลัง เริ่มจากนั่งขัดสมาธิบนพื้น ยกขาข้างขวาวางพาดทับขาซ้าย ให้ขาข้างซ้ายยังงอเข่านอนลงชิดพื้นอยู่ ขาข้างขวาตั้งเข่าขึ้น เอามือขวาแตะพื้นขวา มือซ้ายแตะท้ายทอย แล้วเอี่ยวตัวไปทางขวาให้สุด ค้างไว้ 3-5 วินาที จากนั้นกลับมาหน้าตรง วางมือซ้ายบนพื้นข้างลำตัวด้านซ้าย มือขวาแตะท้ายทอย บิดเอวไปทางขวา ค้างไว้ 3-5 วินาที จากนั้นจึงสลับขา และสลับมือ บิดเอวทั้ง 2 ข้างเหมือนเดิม เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนหลัง เลือดไหลเวียนในบริเวณหลัง เอว ได้ดียิ่งขึ้น
4. คลายปวดหลังด้วยการนวด
อาการปวดหลัง เอว และขา สามารถคลายความปวดได้ด้วยการนวด ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง เพียงใช้สองมือกดและบีบเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ต่อมและอวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น วิธีโดย ท่าแรกนั่งขัดสมาธิ กำหมัดทั้งสองวางไว้บริเวณบั้นเอว หายใจเข้าพร้อมกดมือ แอ่นหน้าอก กลั้นหายใจนับ 1-5 หายใจออกพร้อมคลายแรงกด ท่าที่สองขยับกำปั้นมาบริเวณที่กลางบั้นเอว หายใจเข้าพร้อมกดมือ แอ่นหน้าอก กลั้นหายใจนับ 1-5 หายใจออกพร้อมคลายแรงกด จากนั้นให้ใช้กำปั้น ทุบหรือคลึงเบาๆ ไปที่หลังตรงที่มีอาการปวด ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
5. ควบคุมน้ำหนักตัว
น้ำหนักตัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปวดหลัง ดังนั้นให้พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี โดยเฉพาะที่หน้าท้อง เพราะทำให้แรงโน้มถ่วงโน้มไปข้างหน้ามากกว่า แต่คนที่ผอมก็มีโอกาสปวดหลังได้เหมือนกัน เพราะการที่ผอมมากๆ หรือมีมวลกระดูกต่ำ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งข้อแนะนำที่ดีที่สุดคือทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
ที่มาข้อมูล: