
รู้หรือไม่ ที่เพลงดังขึ้นมาได้ เพราะมันกระจายคล้ายไวรัส "โควิด-19"
มีการทดลองทางคณิตศาสตร์จากกลุ่มนักวิจัยสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาว่า เพลงๆ หนึ่งที่ดังขึ้นมาได้ มีความคล้ายกับการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 หรือไม่
นักคณิตศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ทำงานวิจัยเพื่อดูว่าเพลงแต่ละเพลงดังขึ้นมาได้อย่างไร โดยใช้วิธีเดียวกับที่ศึกษาวิธีเดียวกับการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ว่าความดังของเพลงนั้นแพร่กระจายจากคนไปสู่คนได้เหมือนกับไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ซึ่งงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Proceedings of the Royal Society A: Mathematical and Physical Sciences พบว่าเพลงเป็นที่นิยมขึ้นมาเพราะการส่งต่อจากคนสู่คนได้ และเพลงที่จะมีการแพร่กระจายมากที่สุดจะเป็นเพลงประเภทอีเล็กทรอนิกส์
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าทั้งการแพร่กระจายของเพลงและไวรัสโควิด-19 เป็นกระบวนการทางสังคมและสามารถติดต่อได้ผ่านคนสู่คนเหมือนกัน แต่โรคภัยไข้เจ็บเราจะมีโอกาสป่วยหรือติดโรคหากเราไปใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่สำหรับเพลงจะแตกต่างกันที่การจะติดเพลงหนึ่งเพลงเราไม่จำเป็นต้องเจอตัวกับเพื่อนถึงจะชอบเพลงเดียวกันก็ได้ แต่อาจเป็นเพราะเพื่อนของเรา หรือไอดอลที่เราชื่นชอบแชร์เพลงลงเฟสบุ๊กหรืออินสตาแกรมแล้วเราไปฟังตามและฟังบ่อยเข้าจนกลายเป็นเพลงโปรดไปโดยปริยาย
ตัวอย่างอื่นๆ ที่ทำให้เพลงเป็นที่นิยมขึ้นมาได้
- การที่ครอบครัวชอบเพลงประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทจนหล่อหลอมเพลงแนวนั้นเข้าสู่จิตใจของเรา
- การได้ยินเดิมๆ บ่อยๆ อย่างเช่นช่วงเวลามีศิลปินดังออกเพลงใหม่ทำให้ไม่ว่าจะไปไหนจะได้ยินแต่เพลงนั้นๆ หรือช่วงเทศกาลต่างๆ ที่เปิดเพลงซ้ำๆ ให้เราได้ยิน
- การที่ไปเที่ยวกับเพื่อนแล้วเพื่อนชอบเปิดเพลงที่เพื่อนชอบให้เราฟัง
ตัวอย่างเพลงที่เราจะได้ยินตามเทศกาล
- จิงเกิล เบลล์
- Last Christmas
- สวัสดีปีใหม่
- เด็กเอ๋ยเด็กดี
- อิ่มอุ่น
ตัวอย่างเพลงใหม่จากศิลปินมีชื่อเสียง
- Lalisa - Lisa Black Pink
- Baby - Justin Bieber
- Fly Me To The Moon - Frank Sinatra
- ลึกสุดใจ - ก้อง สหรัถ
- เล่าสู่กันฟัง - เบิร์ดธงไชย
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
https://www.theguardian.com/science/2021/sep/22/mathematicians-discover-music-really-can-be-infectious-like-a-virus
https://pickvisa.com