Lifestyle

เช็คเลย ลูก "นอนกรน" ผิดปกติอยู่ไหม เพราะเสี่ยงหยุดหายใจเสียชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คืนนี้เช็คดูสิว่า “ลูกนอนกรน”ผิดปกติหรือไม่ เพราะการนอนกรนของเด็ก ก็อาจมีปัญหาเสี่ยงทำให้ “หยุดหายใจ”จนเสียชีวิตได้ไม่รู้ตัว

นอนกรนในเด็กอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

          เพราะหากเด็กนอนกรนร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ  นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก 

 

Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS)

          คือ ความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจ และระบบการนอนหลับ

 

 

เช็คเลย ลูก "นอนกรน" ผิดปกติอยู่ไหม เพราะเสี่ยงหยุดหายใจเสียชีวิต

 

          อัตราการเกิดพบได้มากในเด็กช่วงอายุประมาณ 3-6 ปี พบในเด็กผู้หญิงเท่าๆ กับเด็กผู้ชาย โดยจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของการหายใจ และให้การรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ หรือรักษาไม่ถูกต้องจะทำให้เด็กมีภาวะแทรกซ้อนตามมาจนเกิดอาการต่างๆ ตั้งแต่ขาดออกซิเจนในตอนนอน   หยุดหายใจเป็นช่วงๆ   สติปัญญาถดถอย  สมาธิสั้น หัวใจโต หัวใจวาย และเสียชีวิตอย่างกระทันหัน

 

 

เช็ค..อาการน่าสงสัยให้ลูก

  • มีอาการนอนกรน หายใจแรง หายใจติดขัด หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ
  • หายใจเข้า หน้าอกยุบ แต่ท้องป่อง  เสียงกรนขาดหายเป็นช่วงๆ  (หยุดหายใจ)
  • นอนกระสับกระส่าย  เหงื่อออกมากเวลานอน ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ
  • ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน
  • อ้าปากหายใจ มีปัญหาด้านการเรียน  เรียนได้ไม่ดี
  • มีปัญหาทางพฤติกรรม สมาธิสั้น อยู่นิ่งเฉยไม่ได้
  • ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
  • ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  • มีความดันโลหิตสูง

 

 

เช็คเลย ลูก "นอนกรน" ผิดปกติอยู่ไหม เพราะเสี่ยงหยุดหายใจเสียชีวิต

 

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงป่วย (OSAS)

  • มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต
  • เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ
  • มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy
  • เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ
  • เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
  • เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง

 

รีบพาลูกมาตรวจการนอนหลับ หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการนอนกรนผิดปกติ ควรพาลูกมาหาสาเหตุของการเกิดโรคด้วยการทดสอบการนอนหลับ (Pneumogram) กับแพทย์ ซึ่งผู้ปกครองสามารถอยู่เฝ้าได้

 

การรักษา ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค อาจใช้การผ่าตัด แก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบน การตัดต่อม Adenoid และ Tonsils หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  รวมถึงการรักษาอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดปัญหาการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับเช่น โรคภูมิแพ้ หรือการควบคุมน้ำหนักเป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , https://www.gj.mahidol.ac.th, และ www.pixabay.com   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

logoline