Lifestyle

อย่าทำ 3 ข้อ เจ้านาย "ไล่ออก" แบบไม่ทันตั้งตัว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถ้าไม่อยากโดน “ไล่ออก” แบบยังไม่ทันตั้งตัว นี่คือ 6 พฤติกรรมที่ต้องเลี่ยงเพื่อชีวิตการทำงานที่ราบรื่น และโอกาสที่จะก้าวหน้าในสายงาน

1. โพสต์เหน็บแนมเจ้านาย
บางทีเราคิดว่าการที่โพสต์ระบายความอัดอั้นใจบนโซเชียล มีเดีย จะทำให้คนอื่นเห็นใจและเข้าใจเรามากขึ้น แต่ถ้าหากเราไปโพสต์เหน็บแนมเจ้านาย แล้วข้อความนั้นมันส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเจ้านาย จนทำให้บริษัทเสียความน่าเชื่อถือและสูญเสียลูกค้าไปข้อนี้จะทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกไล่ออกมาก 

 

ตามข้อกฏหมาย หากการกระทำของลูกจ้างเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง


 

 2. ดื่มเหล้า 

ทุกองค์กรจะมีข้อบังคับว่า ห้ามดื่มเหล้าในเวลางาน ห้ามดื่มในสถานที่ทำงาน หรือ ห้ามดื่มนอก เวลางานและนอกสถานที่ทำงานอันก่อให้เกิดความเสียหาย แก่นายจ้างและสร้างความเดือด ร้อนแก่สังคมจะผิดวินัย ซึ่งถ้าทำผิดกฏก็จะโดนลงโทษตามวินัย เพราะฉะนั้นถ้าเราดื่มเหล้าในเวลาที่เจ้านายจ้างเรามาทำงาน แล้วมันทำให้งานไม่เดินไปข้างหน้า ไม่มีงานส่งตามเวลาที่ตกลงไว้ หรือเมาแล้วมีการทะเลาะวิวาทกับคนอื่นเราจะเสี่ยงต่อการโดนไล่ออก

 

อย่างไรก็ตาม ตามหลักกฏหมาย เคยมีคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าแม้ข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดว่าพนักงานและลูกจ้างผู้ใดดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่การงาน "เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง" แต่การที่ลูกจ้างออกไปดื่มสุราเพียงเล็กน้อยนอกที่ทำการในขณะใกล้หมดเวลาการทำงานแล้ว เหลือเพียงแต่รอเวลาทำหน้าที่กรรมการปิดตู้นิรภัยเท่านั้นไม่มีอาการมึนเมาสุรา

ลูกจ้างมิได้กล่าวคำขู่อาฆาตผู้บังคับบัญชาเพียงแต่โต้เถียงกันเล็กน้อย ทั้งลูกจ้างยังสามารถกลับมาร่วมปิดตู้นิรภัยได้โดยไม่ได้ทำให้งานในหน้าที่เสียหาย ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำผิดใดจะถือเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นราย ๆ ไป หาใช่เมื่อดื่มสุราแล้วแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นความผิดร้ายแรงทันที


อย่าทำ 3 ข้อ เจ้านาย "ไล่ออก" แบบไม่ทันตั้งตัว

3. ลาป่วยบ่อยหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน 

การลาป่วยบ่อยมาก ๆ  สะท้อนถึงความไม่พร้อมในการทำงานและประสิทธิภาพของงานที่จะตามมา เพราะฉะนั้นการไล่ออกอาจเป็นสัญญาณให้เรากลับไปดูแลสุขภาพของเราให้ดีกว่านี้
 

อย่างไรก็ตาม ข้อกฏหมายกล่าวว่าในกรณีที่ลูกจ้างลาป่วยมาพร้อมกับใบรับรองแพทย์ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างที่ลาป่วยนั้นเท่ากับอัตราจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาป่วยแต่ในปีหนึ่ง ๆ จะจ่ายไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน
 

ส่วนปัญหาที่ว่า "ลาป่วย" ต้องป่วยหนักเพียงใดนั้นปัญหาข้อนี้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 2598/2541 วินิจฉัยว่า อาการของลูกจ้างที่ป่วยและมีสิทธิที่จะลาป่วยได้นั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอาการป่วยจนไม่ สามารถทำงานได้ เมื่อแปลในทางกลับกันก็จะเห็นได้ว่า อาการป่วยซึ่งแม้จะทำงานต่อไปได้ลูกจ้างก็สามารถลาป่วยได้ เพียงแต่ให้คำนึงว่ามีอาการผิดปกติทางร่างกายเท่านั้น

อย่าทำ 3 ข้อ เจ้านาย "ไล่ออก" แบบไม่ทันตั้งตัว


ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
facebook.com/LaborProtectionLaw/

logoline