Lifestyle

โอกาสใหม่ของชาวสวน! เมื่อ "เปลือกทุเรียน" นำมาทำเป็นพลาสเตอร์ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อไหร่ก็ตามที่งานทดลอง "เปลือกทุเรียน" นี้ได้รับการรับรองจากหลายองค์การนานาชาติ และมีการส่งต่อความรู้สู่ภาคประชาชน เมื่อนั้น เกษตกรอาจสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขาย เปลือกทุเรียน

นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) ประเทศสิงคโปร์กำลังทำโครงการจัดการกับเศษอาหารส่วนเกินที่ทำให้เกิดโลกร้อน โดย นำเปลือกทุเรียนที่ถูกทิ้งเปล่าทำเป็น 'พลาสเตอร์เจล' ปิดแผลต้านเชื้อแบคทีเรีย

โอกาสใหม่ของชาวสวน! เมื่อ "เปลือกทุเรียน" นำมาทำเป็นพลาสเตอร์ได้

 

'พลาสเตอร์เจล'  ทำโดยนำเปลือกทุเรียนหั่นเป็นทรงแว่นแล้วนำไปเข้า กระบวนการ freeze-dry หรือทำให้แห้งโดยใช้ความเย็น ซึ่งวิธีนี้จะสกัด ผงเซลลูโลส ออกจากเปลือกทุเรียนจากนั้นนำเปลือกไปผสมกับ สารกลีเซอรอล ส่วนผสมนี้จะทำให้เปลือกแข็ง ๆ กลายเป็นไฮโดรเจลที่นุ่ม จากนั้นจึงนำไปตัดเป็นขนาดเท่ากับพลาสเตอร์


 

'ศาสตราจารย์วิลเลียม เฉิน' ผู้อำนวยการโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร กล่าวว่า

 

สิงคโปร์กินทุเรียนกันประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี ดังนั้นเปลือกที่ถูกแกะทิ้งจึงไม่ได้ใช้เอาไปทำอะไร จึงเกิดเป็นขยะ ซึ่งมักจะ ถูกทิ้งและเผาทิ้งทำให้มลพิษในสิ่งแวดล้อม

 

'พลาสเตอร์ไฮโดรเจล' นี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษซึ่งสามารถสมานและรักษาแผลด้วยความเย็น ซึ่งจะช่วยเร่งการรักษาแผลหายเร็วขึ้น

 

มากไปกว่านั้นนักวิทยาศาตร์ยังบอกว่าต้นทุนการผลิต ‘พลาสเตอร์ไฮโดรเจล’ คุ้มค่ากว่า การผลิตผ้าพันแผลทั่วไป ที่ต้องใช้วัสดุที่ช่วยในการต้านเชื้อโรคมาจากสารประกอบไอออนเงิน หรือ ทองแดงที่มีราคาแพงกว่า

โอกาสใหม่ของชาวสวน! เมื่อ "เปลือกทุเรียน" นำมาทำเป็นพลาสเตอร์ได้


 

 ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
www.reuters.com/lifestyle/science
https://unsplash.com/s/photos

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ