Lifestyle

"สอนลูก"แบบไหนไม่ให้ฆ่าใคร เพราะการฆ่าคนได้ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำไมคนเราจึงฆ่ากันได้จริงๆ แล้วมีหลายสาเหตุ แต่"การเลี้ยงดู"คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนคนหนึ่งขาดความคิดและยับยั้งใจ ฉะนั้นเราจะเลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ทำร้ายและ"ฆ่าคน"

จากข่าวสุดหดหู่ที่เยาวชนรุมโทรมข่มขืน ร่วมกับข่าวดังเรื่องการทรมานและฆ่าคนตาย ใครจะเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู  ฉะนั้นเรามาสอนและปลูกฝังความคิดและการกระทำที่ดี ไม่ให้ลูกไปทำร้ายหรือฆ่าใครโดยมีคำแนะนำในการสอนลูกจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่บอกไว้ในเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขาดังนี้  

1. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น  ความเสี่ยงหนึ่งของเด็กที่กลายเป็นอาชญากร ก็คือ พ่อแม่ทำในเรื่องผิดๆให้ลูกเห็นบ่อยๆ หรือลูกเห็นตัวอย่างจากสิ่งรอบตัว อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอาชญากรรม มีความรุนแรง ตัวอย่างจากคนไข้ที่มาด้วยเรื่องความรุนแรง เมื่อซักประวัติไป ก็พบว่าพ่อของเด็กเป็นคนที่ใช้ความรุนแรง ทำให้เด็กพบเห็นความรุนแรงในบ้านเสมอๆ พ่อทำร้ายแม่ ทำร้ายเด็ก เมื่อเด็กสัมผัสสิ่งไม่ดีมาตั้งแต่เด็ก แม้เขาจะไม่ชอบแต่ก็มีแนวโน้มที่จะซึมซับและทำตามได้

2. พ่อแม่ต้องมีความใกล้ชิดผูกพัน ให้ความอบอุ่น  ทำให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ไว้วางใจพ่อแม่ เป็นพื้นฐานจิตใจที่จะนำไปสู่ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ไม่ทำอะไรให้คนอื่นเสียใจ เริ่มที่เห็นใจพ่อแม่เพราะไม่อยากให้พ่อแม่เป็นทุกข์หรือเสียใจ และตรงนี้จะกลายเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆต่อไป

3. ไม่ตามใจลูกและปล่อยให้ทำอะไรโดยไม่มีขอบเขต พ่อแม่ทุกคนรักลูกแต่ความรักแบบมีสติเป็นเรื่องจำเป็น บางคนรักลูกมากตามใจทุกอย่าง อยากให้อะไรก็ให้ ลูกก็จะกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สนใจใครแม้จะทำในเรื่องที่คนอื่นเดือดร้อน

 

 

"สอนลูก"แบบไหนไม่ให้ฆ่าใคร เพราะการฆ่าคนได้ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู

 

4. สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบและควบคุมตัวเอง เพราะเด็กๆ จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ต้องรู้จักที่จะควบคุมตัวเองได้ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรทำ มีวินัย รับผิดชอบ ถ้าพ่อแม่ไม่สอนลูกก็จะไม่เรียนรู้ จึงต้องฝึกให้เขารับผิดชอบเรื่องของตัวเองก่อน เมื่อโตขึ้นก็จะเริ่มรับผิดชอบในสิ่งที่มากขึ้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

5. ให้รู้จักว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ พ่อแม่ควรจะใจดี ใจเย็น แต่ไม่ควรใจอ่อนเกินไป เวลาที่บอกลูกว่าอะไรที่ต้องทำ หรือห้ามทำอะไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น อย่างไรก็ตามก็ต้องเข้าใจความต้องการความรู้สึกว่าลูกคงไม่ชอบที่พ่อแม่ขัดใจ แต่ก็ต้องยืนยันไปตามที่ตกลงกัน ทำให้เขารู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ

6. จับที่ถูกและชมเชย  เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกทำอะไรที่ดีก็ต้องรีบชมเชยเป็นกำลังใจ และสร้างแรงจูงใจที่ให้เขาทำดีต่อไป จะทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจดีใจ และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ดีต่อเนื่อง    

7. เห็นอกเห็นใจ เอาใจลูกมาใส่ใจเรา ลูกจะรู้สึกดีถ้าพ่อแม่เห็นอกเห็นใจ รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขา ในสถานการณ์ความขัดแย้งกัน การแสดงออกว่าพ่อแม่เข้าใจว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร จะทำให้คุยกันเข้าใจขึ้น และเมื่อลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ก็เข้าใจและเห็นใจเขา ลูกก็จะมีความเข้าใจและเห็นใจคนรอบข้างต่อไป

 

 

"สอนลูก"แบบไหนไม่ให้ฆ่าใคร เพราะการฆ่าคนได้ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู

 

8. สอนให้ลูกรู้จักจัดการกับความโกรธ อารมณ์โกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ที่สำคัญกว่าคือ การจัดการความโกรธนั้นของตัวเอง เช่น โกรธได้เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การจัดการความโกรธอย่างเหมาะสมสำคัญกว่า ไม่ใช่ว่าโกรธแล้วจะต้องทำร้ายทำลายคนอื่น พ่อแม่ก็ต้องทำเป็นตัวอย่างว่าโกรธได้ แต่สามารถจัดการได้ เช่น โกรธก็ไปหาอะไรทำ ปรึกษาคนที่ไว้ใจ ไปออกกำลังกาย เป็นต้น

 

 

9.สอนให้ลูกคิดอะไรไกลๆ มีเป้าหมายในชีวิต หลายๆครั้งเด็กที่ทำผิดรุนแรง เป็นเพราะตามเพื่อนหรือคิดอะไรง่ายๆ สั้นๆ แต่ถ้าลูกมีเป้าหมายว่าอนาคตอยากทำอะไร เป็นอะไร ก็จะมีแนวโน้มดูแลตัวเองเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้นได้ ลองพูดคุยถึงความฝันความหวังของลูกเมื่อมีโอกาส เพื่อให้เขามีเป้าหมายชีวิตและตั้งใจทำในสิ่งที่ดี

10. ปลูกฝังทักษะการกล้าที่จะปฏิเสธในเรื่องไม่ถูกต้อง เด็กๆส่วนหนึ่งที่ทำผิด เกิดจากการกดดันของกลุ่มเพื่อน ว่าถ้ารักเพื่อนต้องทำตามๆกันต้องช่วยกัน แม้ว่าบางครั้งจะเป็นเรื่องที่ผิด เช่น ไปเสพยาเสพติด ไปล้างแค้นฝ่ายตรงข้าม ควรปลูกฝังเรื่องความหนักแน่น กล้าที่จะปฏิเสธในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

11. รู้จักเพื่อนของลูก ลองชวนเพื่อนลูกมาเที่ยวบ้าน ทำอาหารให้กิน พูดคุยกัน พ่อแม่จะได้รู้เขารู้เราว่าเพื่อนๆ ที่ลูกคบอยู่เป็นคนแบบไหนยังไงบ้าง

 

 

"สอนลูก"แบบไหนไม่ให้ฆ่าใคร เพราะการฆ่าคนได้ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู

 

12. อย่าทำโทษลูกด้วยวิธีรุนแรง เวลาลูกทำผิดควรบอกเขาว่าอะไรที่ไม่ควรทำ และเพราะอะไร หลีกเลี่ยงการทำโทษรุนแรง เช่น การใช้คำพูดรุนแรง การตีรุนแรง หรือการทำร้ายร่างกาย การถูกกระทำรุนแรงบ่อยๆโดยเฉพาะจากพ่อแม่ จะทำให้ลูกเกิดบาดแผลทางใจและซึมซับพฤติกรรมรุนแรง จนอาจจะกลายเป็นคนชอบความรุนแรงที่ไม่เห็นอกเห็นใจใคร

13. เลือกรับสื่อที่ไม่รุนแรง มีคลิปหรือละครที่มีเนื้อหารุนแรงอยู่บ่อยๆ ตรงนี้ควรให้เด็กโตสักนิดได้ดู และพ่อแม่ควรดูไปด้วย รวมถึงช่วยสอนลูกให้เขารู้จักวิธีการจัดการปัญหาโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง และแยกแยะเป็นว่าอะไรในสื่อที่ทำแล้วดีหรือไม่ดี และมีผลกระทบตามมาอย่างไร เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ทำตาม

 

 

logoline