Lifestyle

เปิด 7 อาการของลูกที่ถูกพ่อแม่ "สปอยล์" มากเกินไป อย่าหาทำนะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

7 อาการของ "ลูก" ที่ถูก "พ่อแม่" "สปอยล์" มากเกินไปจนเสียคน แนะพ่อแม่อย่าหาทำเด็ดขาด เพราะส่งผลเสียโดยตรงต่อเด็ก

เปิด 7 อาการของ "ลูก" ที่ถูก "พ่อแม่" "สปอยล์" มากเกินไปจนเสียคน แนะพ่อแม่อย่าหาทำเด็ดขาด เพราะส่งผลเสียโดยตรงต่อเด็ก

 

 

สำหรับ "พ่อแม่" ที่กำลัง "สปอยล์" หรือการเอาใจ "ลูก" จนเกินไปหรือเปล่า แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ไม่ใช่หรอกมั้ง ไม่จริงนะ ไม่ได้ตามใจ คำตอบแบบนี้คงอยู่ในใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนอยู่แล้ว

 

มาดูกันว่าลูกน้อยของคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ ภายหลังจากที่เริ่มจะถูก "สปอยล์" มากจนเกินไป

 

1.อารมณ์ร้อนเกรี้ยวกราดบ่อยครั้ง

 

หากลูกเริ่มมีอาการหงุดหงิดบ่อยๆ กรีดร้อง เกรี้ยวกราด ชักสีหน้าแสดงอาการให้รู้ว่าไม่พอใจ นับเป็นหนึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่าลูกเริ่มถูกสปอยล์มากไปแล้ว

 

2.เถียงคำไม่ตกฟาก

 

เราๆ คงได้ยินคำนี้มาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย หากมีเด็กพูดเถียง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด หรือผู้ใหญ่พูดเตือนอะไรแล้วเถียงกลับทันที แบบนี้ที่เขาเรียกว่าเถียงคำไม่ตกฟาก เป็นการแสดงอาการของเด็กที่ไม่น่ารัก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้ทำผิดแล้วพยายามอธิบาย นับว่าเป็นคนละสาเหตุกันนะ

 

3.จอมบงการเสียจริง

 

หากพ่อแม่ที่มัวแต่ตามใจลูกจนทำให้ทุกอย่าง หรือจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัวดูแลทุกฝีก้าว จนลูกไม่สามารถทำอะไรได้เองเลยนั้น เมื่อถึงเวลาที่คุณอยากให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง ลูกจะไม่ยอมที่จะทำเผลอๆ จะสั่งกลับให้คุณทำให้แทนเสียด้วยซ้ำ

 

4.ขายหน้าทุกทีที่ต้องออกไปข้างนอก

 

เมื่อพ่อแม่สปอยล์ลูกมากเกินไป อาการเหล่านี้จะตามมาแน่นอน เช่น หากลูกกรีดร้องอยากได้สิ่งของที่ชอบ หรือขนมที่ถูกอกถูกใจ แต่เมื่อไม่ได้จะแสดงอาการร้องไห้ กรีดร้อง ลงไปดิ้นลงกับพื้น เพื่อเรียกร้องความสนใจทันที แล้วถ้ายิ่งให้สิ่งของกับเขาเพื่อตัดปัญหา นั้นจะยิ่งทำให้ลูกเคยชินเข้าไปอีก อาการนี้เรียกว่าถูกสปอยล์มากไปแล้ว

 

5.หวงของ ไม่รู้จักแบ่งปันคนอื่น

 

เมื่อลูกได้รับมากๆ เราควรจะบอกให้เขารู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง เด็กสามารถรับรู้การแบ่งปันได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เขาเริ่มเข้าใจหลายสิ่งมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงทักษะทางด้านอารมณ์และจิตใจ หากเขารู้จักแบ่งปัน อาการที่ถูกสปอยล์หรือการถูกเอาแต่ใจจะค่อยๆ ดีขึ้น

 

6.ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเสมอ

 

เมื่อไหร่ที่ลูกไม่ยอมทำหน้าที่ของตนเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ปล่อยให้บ้านรก เมื่อพ่อแม่สั่งให้เก็บแต่ลูกยังดื้อรั้นไม่ยอมเก็บอีก และหากคุณใช้เงื่อนไขว่า เช่น เก็บของเล่นแล้วแม่จะพาไปเที่ยว การใช้เงื่อนไขแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด เราควรสอนให้ลูกยอมรับว่านี่คือหน้าที่ของเขา มากกว่าใช้เงื่อนไขเพื่อแลกเปลี่ยน

 

7.กระทืบเท้า ปิดประตูเสียดัง

 

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นแล้วแสดงถึงความไม่พอใจถึงขั้นกระทืบเท้า ร้องไห้เสียงดัง เดินหนีเข้าห้อง ปิดประตูเสียงดังใส่ อาการแบบนี้ต้องแก้ไขแล้วล่ะค่ะ การโกรธ โมโหไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ลูกมีอารมณ์โมโหอยู่บ่อยครั้ง ถึงขั้นทำสิ่งเหล่านี้กับผู้ใหญ่ในบ้านแล้ว ไม่มีการช่วยเหลือเขา จะส่งผลถึงตอนโตได้ แก้ไขตอนโตยากยิ่งกว่าแก้ตั้งแต่เด็ก ดั่งคำที่ว่า "ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก้ดัดยาก"

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ รักลูก

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ