Lifestyle

ทำความรู้จัก ..."หญ้าหนวดแมว" สมุนไพรใกล้ตัว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หญ้าหนวดแมว"เป็นสมุนไพรใกล้ตัวชื่อแปลกที่แม้จะมีประโยชน์มาก แต่ต้องรู้จักอย่างถ่องแท้ก่อนจะนำไปใช้จริง

 

 

หญ้าหนวดแมว มีหลายชื่อ พยับเมฆ  บางรักป่า   อีตู่ดง  หญ้าหนวดเสือ

 

 

ส่วนลักษณะนั้น หญ้าหนวดแมวเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้น กิ่งและก้านเป็นสี่เหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อสวยงาม ลักษณะคล้ายฉัตรเป็นชั้น ๆ สีขาว หรือสีม่วง มีเกสรตัวผู้ยาวคล้ายหนวดแมว 

 

 

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 4 - 7 ซม.

 

 

ขอบใบ หยักฟันเลื่อย

 

 

ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งมี 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก สวยงามน่าชม จะปลูกเป็นไม้ประดับบ้านก็ได้ ขึ้นง่ายไม่เลือกดิน ขอให้มีน้ำแฉะๆ ก็พอ

 

 

ผล   แห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก

 

 

ชอบแดดร่มรำไร การเลือกต้นมาใช้ ควรเลือกต้นที่อวบแข็งแรง ดูได้จากใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันไม่อ่อนละห้อย

 

สรรพคุณของ หญ้าหนวดแมว เกือบทุกส่วนนำมาใช้เป็นยาได้

 

 

ต้น -ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว
 

 

ใบ -เป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้ง เป็นยาขับปัสสาวะ

 

 

ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์และรักษาโรคนิ่วในไต โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซีดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่พอใจของแพทย์

 

 

พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

 

 

นานมาแล้วโรงพยาบาลในประเทศรัสเซียและในยุโรปหลายประเทศเขารู้จักนำ หญ้าหนวดแมว มาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคไต ควบกับโรคหัวใจได้ด้วย ฝรั่งเขาจึงตั้งชื่อ หญ้าหนวดแมว ว่า ชาสำหรับโรคไต"หรือ kidney's tea 

 

 

สำหรับหมอแผนไทยและจีน รู้จักใช้ หญ้าหนวดแมวรักษาโรคไตมานานแล้ว

 

 

แต่เพิ่งจะมาเป็นที่ยอมรับเป็นทางการในประเทศไทยปี 2528 เมื่อ รศ.นพ.วีระสิงห์ เมืองมั่น ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นคว้าวิจัยนำ หญ้าหนวดแมว มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไตและนิ่วในระบบปัสสาวะ ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปัสสาวะขัด ฉี่กะปริบกะปรอย

 

ส่วนวิธีเก็บและการปรุงยานั้น คือ เด็ดเอาแต่ส่วนยอดของลำต้นยาวประมาณ 1 คืบ ส่วนนี้คือ ส่วนที่มีใบอ่อนจนถึงใบจวนแก่

 

 

จากนั้นนำยอดที่เด็ดได้มาล้างให้สะอาด ดอกไม่ใช้หั่นก้านอ่อนที่ติดใบเป็นชิ้นยาวขนาด 1-3 ซ.ม. ใบไม่ต้องหั่น ตากแดดจัด 2 วันแห้งดีแล้วเก็บในขวดที่ปิดสนิท

 

 

การชงดื่มนั้นทำเหมือนชงชาทั่วไป (ชาหญ้าหนวดแมว 5 กรัม หรือ 1 หยิบมือกับน้ำ 3 แก้ว) ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร
 

 

จากการทดลองทางห้องทดลองพบว่า "หญ้าหนวดแมว"มี "เกลือโปแตสเซียม" ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ และช่วยขยายหลอดไตให้กว้างขึ้น จึงสามารถลดอาการปวดของท่อไต
 

 

 

ผู้ป่วยในรายที่เป็นนิ่วขนาดเม็ดมะละกอหรือเม็ดถั่วเขียวชาสมุนไพรจะช่วยขับก้อนนิ่วออกมา หลังจากดื่มเพียง 3-5 วัน ช่วยให้รอดพ้นจากการผ่าตัดไปได้

 

 

"หญ้าหนวดแมว"สามารถลดความดันโลหิตลงและยังสามารถลดภาวะหลอดเลือดหดตัวได้ด้วย

 

 

นอกจากนี้ยังทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงเพราะยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase

 

 

รวมทั้งลดพิษจากการได้รับกลูโคสปริมาณสูงจึงสามารถนำมาใช้ใน"ผู้ป่วยเบาหวาน"ได้อย่างปลอดภัย 

 

 

ข้อควรระวังการใช้"หญ้าหนวดแมว"

 

ใบของ"หญ้าหนวดแมว"พบเกลือของโปแตสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และหญิงมีครรภ์ 

 

 

นอกจากนี้ในต่างประเทศระบุให้ระวัง ผลข้างเคียงจากการใช้"หญ้าหนวดแมว" ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ผิวหนังผื่น หรือบวมแดง 

 

 

ควรใช้"หญ้าหนวดแมว" หลังอาหารและค่อย ๆ จิบกินในกรณีที่ใช้ครั้งแรกๆ เพราะ"หญ้าหนวดแมว"มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ หากผู้ใช้กำลังกระหายน้ำและดื่มน้ำหญ้าหนวดแมวทั้งแก้วอาจทำให้น้ำตาลลดและเกิดอาการใจสั่นเพราะหิวได้

 

 

นอกจากนี้สารจาก"หญ้าหนวดแมว"จะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

 

 

"หญ้าหนวดแมว"แม้จะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้จริง แต่ในการใช้แต่ละครั้ง ควรศึกษาให้ดีและอ่านข้อควรระวังและผลข้างเคียงให้ดีก่อนนำมาใช้ด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวผู้ใช้เอง
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ