ไลฟ์สไตล์

"นางอั้วตีนกบ" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

"นางอั้วตีนกบ" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

14 ส.ค. 2564

"นางอั้วตีนกบ" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก ปัจจุบันเหลือน้อยในธรรมชาติ เหตุถูกเก็บจากป่าเพื่อการค้า

"นางอั้วตีนกบ" Pecteilis susannae (L.) Rafin. กล้วยไม้ดินดอกหอม ปัจจุบันมีเหลือในธรรมชาติน้อย เนื่องจากถูกเก็บจากป่าเพื่อการค้ามาก ชื่ออื่น นางกราย (นางอั้ว), นางอั้ว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), พอเจพะดู่, พอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ว่านนะราช, ว่านนาคราช (สุราษฎร์ธานี), เอื้องตีนกบ, เอื้องนางก๋าย, เอื้องเสาวนา (ภาคเหนือ) 

 

 

"นางอั้วตีนกบ" กล้วยไม้ดิน สูงได้ถึง 1.5 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบเรียงเวียนรอบลำต้น 6-10 ใบ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 4-18 เซนติเมตร แกนช่อยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ก้านช่อยาว 20-50 เซนติเมตร มี 2-10 ดอก ใบประดับคล้ายใบ ยาว 3.5-8.5 เซนติเมตร ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายนของทุกปี 

 

นางอั้วตีนกบมีดอกสีเขียวอมขาวหรืออมเหลือง กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กว้าง ยาว 2-3 เซนติเมตร กลีบคู่ข้างแคบและยาวกว่าเล็กน้อย กลีบดอกรูปใบหอก ยาว 0.7-1.3 เซนติเมตร กลีบปากแยก 3 พู พูข้างกางออก รูปพัด ยาว 2-3.5 เซนติเมตร ขอบจักชายครุยลึก พูกลางรูปใบหอกถึงรูปแถบ ยาว 3-4.5 เซนติเมตร เดือยโค้ง ยาว 7-15.5 เซนติเมตร เส้าเกสรยาว 1-1.3 เซนติเมตร รังไข่รวมก้านดอกยาว 2.5-6 เซนติเมตร 

 

นางอั้วตีนกบพบที่อินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา ติมอร์ ซูลาเวซี และโมลุกกะ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามทุ่งหญ้า ชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1,100 เมตร สำหรับสรรพคุณทางสมุนไพร หัวสด 1-2 หัว ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตได้ 

 

\"นางอั้วตีนกบ\" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

 

 

\"นางอั้วตีนกบ\" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

 

\"นางอั้วตีนกบ\" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

 

\"นางอั้วตีนกบ\" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

 

\"นางอั้วตีนกบ\" กล้วยไม้ดินดอกหอม พรรณไม้สวยงามหายาก

 

ข้อมูลจาก หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF