หากเอ่ยถึง “ผักชีฝรั่ง” หลายคนอาจทำหน้า งง.ๆ ! หรือแปลกใจกันว่า ทำไมเจ้าผักชนิดนี้ ถึงมีชื่อไทยผสมฝรั่ง รวมทั้งมีหน้าตาเป็นเช่นไร และทำไมถึงนิยมนำ มารับประทานกัน
ทั้งนี้ “ผักชีฝรั่ง” หากเรียกกันแบบพื้นถิ่น ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า “ผักชีดอย” , ผักจีดอย , ผักจีฝรั่ง , หอมป้อมกุลา , หอมป้อมกูลวา ซึ่งที่กล่าวถึงคือภาษาที่ใช้เรียกกันในแถบภาคเหนือ
ส่วนคำว่า “ผักชีใบเลื่อย” ซึ่งก็คือ “ผักชีฝรั่ง” นั่นเอง โดยคำว่า “ผักชีใบเลื่อย” มักนิยมใช้กันในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หรือในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน และภาคกลาง ก็ยังมีการเรียกกันว่า “ผักชีใบเลื่อย” เพราะลักษณะของใบที่ใหญ่ และขอบใบมีรอยหยักๆ คล้ายใบเลื่อย
“ผักชีฝรั่ง” หรือผักชีใบเลื่อย เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ผักชี มีถิ่นกำเนิดทวีปอเมริกาใต้ และประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันนิยมปลูกเพื่อบริโภคกันทั่วโลก ซึ่งเสน่ห์ของ “ผักชีฝรั่ง” หรือ “ผักชีใบเลื่อย” เป็นผักที่มีกลิ่นหอม มีใบสีเขียวอ่อน ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย เฉพาะประเทศไทย นิยมนำมาบริโภค ใส่ในลาบหมู หรือนำตก แบบหั่นฝอยๆ หรือจะหั่นห่าง แล้วใส่ไปในต้มยำ หรือยำชนิดต่างๆ ก็เป็นตัวเพิ่มรสชาติของความอร่อยได้เช่นกัน
“ผักชีฝรั่ง” ถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ทั้ง “เบตาแคโรทีน” , วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น
นอกกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่า “ผักชีฝรั่ง” มีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) ปริมาณสูงที่สุดในตระกูลผักทั้งหลาย ซึ่งกรดออกซาลิกนี้ เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด “โรคนิ่วในไต” และ “กระเพาะปัสสาวะ” โดยจะมีอาการปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด ดังนั้น ไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก หรือรับประทานติดต่อกัน ดังนั้น จึงควรหันมารับประทานผักชนิดอื่นสลับไปมา เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และวิตามิน จากผักชนิดอื่นๆด้วย ที่สำคัญ สตรีมีครรภ์ ไม่แนะนำให้รับประทาน “ผักชีฝรั่ง”
สำหรับสรรพคุณของ “ผักชีฝรั่ง” ใช้เป็นทางยาได้หลายอย่างจากการแพทย์แผนไทยอาทิ
ใบและใบอ่อน / แก้ท้องอืด , แก้หวัด , แก้ท้องเสีย , มีสารต้านเซลล์มะเร็ง
ลำต้น / ลดความดันโลหิต , บำรุงผิว , ยาถ่าย , ผมแข็งแรง
ราก / ขับเหงื่อ , แก้ไข้ , ขับปัสสาวะ , รักษาแผลผุพอง
ขอบคุณข้อมูล / เว็บไซต์เมดไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง