Lifestyle

"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"บอกอะไรกับเรา และการรับมือ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เหงื่อออก,ไม่มีแรง,เวียนศีรษะ,สับสน,ผิวหนังเย็น  คือองค์ประกอบส่วนหนึ่งของข้อบ่งชี้ ถึงอาการที่มาจาก " ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"  คำถามที่น่าสนใจคือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร  และการหาทางรับมือกับอาการ

 

 


“ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ”:Hypoglycemia คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผลที่ตามมาคือทำให้เกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย  ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ  สำหรับในรายที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมากที่สุด คือผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
 

 

 

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่พยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เมื่อกินอาหารได้น้อย กินอาหารผิดเวลา ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมมาก  จะทำให้เกิด "ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"   สัญญาณอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่พบ  คือ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฉุนเฉียวง่าย กังวล สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย ตัวสั่น   ถ้าเป็นมาก ไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักจนเป็นอันตรายได้ 

 


การแก้ไข"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"  เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการ     ประกอบด้วย  อาการไม่มากและรู้สึกตัวดี  ให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหาร ควรกินอาหารว่าง เช่น นมพร่องมันเนย (240 ซีซี) หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก หรือ แครกเกอร์ 2-3 แผ่น 

 

อาการค่อนข้างมากแต่รู้สึกตัวดี ให้กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้  น้ำผลไม้คั้นสดไม่เติมน้ำตาล ปริมาณ ½ แก้ว ลูกอม 2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน  น้ำหวาน ½ แก้ว (น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ปริมาณ 120 ซีซี)  น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา  หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปัง ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ทันที อาการเป็นมาก ไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักเข้าปอด ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

 

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  รับประทานอาหารตรงเวลาและมีปริมาณเหมาะสมตามความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคน ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง  ฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง (ยกเว้นกรณีแพทย์แนะนำให้ปรับยาเองได้) ออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป

 

 

"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"บอกอะไรกับเรา และการรับมือ

 

 

 

"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"บอกอะไรกับเรา และการรับมือ

 

 

 

"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"บอกอะไรกับเรา และการรับมือ

 

 

 

ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น นมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า หรือ ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม   ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ  ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องกินยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้

 

แจ้งให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดทราบว่าเป็นเบาหวานและอธิบายการแก้ไขที่ถูกต้องให้รับทราบ ควรมีลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 100% หรือขนมปังแครกเกอร์เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา ช่วงที่เจ็บป่วย หากทานอาหารไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อปรับยา   ข้อพิจารณาเพิ่มเติมคือ  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากปล่อยให้เกิดอาการนานจนเกินไป  อาจทำให้ผู้ป่วยชัก หมดสติ  หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด 

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก 

โรงพยาบาลสมิติเวช 

พบแพทย์

 

ภาพประกอบจาก 

https://pixabay.com/th/ 

 

 

"ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"บอกอะไรกับเรา และการรับมือ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ