Lifestyle

มาร์โค โปโล: นักเดินทางผู้ทำให้คนจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกต่างอย่างไทย "เข้าใจกัน"

ชีวิตของ "มาร์โคโปโล" ขับเคลื่อนด้วยการเดินทางข้ามทวีปยุโรปไปยังเอเชีย การเดินทางของเขาได้มอบบทเรียนอันล้ำค่าไว้ให้กับผู้คนจากทั้งสองอารยธรรมรวมถึงคนไทยอย่างเราได้เรียนรู้อีกด้วย

เมื่อพูดถึงคนที่ร่ำรวยในอดีต มาร์โค โปโล (Marco Polo) เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีประวัติที่น่าสนใจ  ชีวิตของเขาถูกขับเคลื่อนด้วยการเดินเรือข้ามทวีปจากยุโรปไปยังเอเชีย (ในแถบประเทศจีน) ซึ่งการเดินทางของเขาก็ได้มอบบทเรียนอันล้ำค่าไว้ให้กับผู้คนจากทั้งสองอารยธรรมรวมถึงคนไทยอย่างเราได้เรียนรู้อีกด้วย มาร์โค โปโลเกิดมาในครอบครัวนักการค้า หรือที่สมัยนี้เรียกว่านักธุรกิจ ตอนมาร์โคยังคงเป็นเด็ก เขาไม่ได้เติบโตมากับทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่เสียชีวิตไปตั้งแต่เขายังเล็ก ส่วนคุณพ่อต้องออกเดินทางไปทำการค้าขายที่ต่างประเทศที่ในสมัย ค.ศ. 1300 (พ.ศ. 1900) 

 

 

มาร์โค โปโล: นักเดินทางผู้ทำให้คนจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกต่างอย่างไทย \"เข้าใจกัน\"

 

 

 

 

 

 

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจบทเรียนที่มาร์โคได้มอบไว้ เราต้องไปทำความเข้าใจในเส้นทางการเดินทางของ นิคโคโล โปโล (คุณพ่อ) และ มาฟฟิโอ โปโล (คุณลุง) ของมาร์โคกันก่อน  ในช่วงที่มาร์โคเพิ่งลืมตาดูโลกนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พ่อและลุงของเขาต้องออกไปค้าขายที่เมืองต่าง ๆ ในยุโรป ซึ่งพอพวกเขาได้เดินทางถึงเมือง ซุไร ซึ่งตกอยู่ภายใต้ของจักรวรรดิมองโกลในขณะนั้น พวกเขาต้องเผชิญกับสภาวะสงครามในเมืองจึงต้องหลบออกมาจนเดินทางไปถึงเมืองบุคฮารา (อุซเบกิสถานในปัจจุบัน) และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นประมาณ 3 ปี ในช่วงเวลานี้เอง นิโคโล และ มาฟฟิโอ ได้ไปพบกับทูตราชสำนักจากมองโกล และพร้อมกันนั้น พวกเขาเดินทางไปพบกับ กุบไล ข่าน (ผู้นำของจักรวรรดิมองโกล ณ ขณะนั้น) ที่เมืองปักกิ่ง จากการพบกันสู่ความผูกพันธ์และความสนใจในวัฒนธรรมและวิทยาการที่กุบไล ข่าน มีต่อชาวยุโรปอย่างมากและอยากที่ให้ นิโคโล และ มาฟฟิโอ นำองค์ความรู้เหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับประชาชนของตน กุบไล ข่านจึงมอบตั๋วทองคำ (พาสปอร์ตของราชสำนักมองโกล) ให้เขาทั้งสองเพื่อคุ้มกันในระหว่างเดินกลับไปยังเมืองเวนิส กุบไล ข่านได้ขอให้ทั้งสองไปเรียนเชิญพระสันตะปาปา และ พระจากคริสตจักร 100 รูป รวมถึงนำน้ำมันตะเกียงศักดิ์สิทธิ์จากเยรูซาเลม กลับมาสู่ปักกิ่งเพื่อนำความรู้เชิงวัฒนธรรมและวิทยาการของโลกตะวันตกมาเผยแพร่สู่โลกตะวันออก

 

 

ในปี ค.ศ. 1271 เป็นปีที่ นิโคโล และ มาฟฟิโอ พร้อมที่จะเดินทางจากเมืองเวนิสไปพบ กุบไล ข่าน อีกครั้ง ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ มาร์โค โปโลวัย 17 ปี และบาทหลวงคริสต์อีก 2 รูปได้ร่วมเดินทางไปด้วย แต่ด้วยความที่บาทหลวงทั้งสองไม่ต้องการที่จะเผชิญอันตรายระหว่างทางจากสงครามอย่างต่อเนื่อง บาทหลวงทั้ง 2 รูปจึงได้หายตัวไป อย่างไรก็ตามครอบครัวของโปโลเดินทางกันไปต่อผ่านเมือง“เอเคอร์ อามาเนียร์ และ อัสเซอไบจาน” ก่อนจะเดินลงใต้ไปยังบริเวณ “อ่าวเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน ทะเลทราบโกบี” และถึงราชสำนักของ กุบไล ข่าน ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1275 

 

เมื่อไปถึง มาร์โคได้แสดงถึงความฉลาดหลักแหลมของตนออกมาจนเป็นที่ประทับใจของ กุบไล ข่าน ทำให้มาร์โคได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ตรวจราชการของราชสำนักมองโกล และ ผู้ปกครองเมืองหยางโจว ซึ่งโดยรวมแล้ว เขารับใช้ราชสำนักมองโกลกว่า 17 ปี ดังนั้น เขาจึงได้ซึมซับถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของอีกฟากหนึ่งของโลกที่ชาวตะวันตกน้อยคนนักจะได้เข้าใจ เมื่อใกล้สิ้นสุดยุคของ กุบ ไลข่าน ครอบครัวของโปโลก็ตัดสินใจเดินทางกลับไปยังเมืองเวนิส เนื่องจากเกรงว่าหากอยู่ต่อไปจะไม่ปลอดภัย พวกเขานั้นกลับไปพร้อมสมบัติอันล้ำค่ามากมายเป็นซึ่งเป็นอภินันทนาการจากการรับใช้จักรวรรดิมองโกล

 

 

มาร์โค โปโล: นักเดินทางผู้ทำให้คนจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกต่างอย่างไทย \"เข้าใจกัน\"

 

 

 

เมื่อเดินทางกลับมาสู่เมืองเวนิสอีกครั้ง ขณะนั้นพอดี เมืองเวนิสอยู่ในช่วงสงครามกับเมืองเจนัว (เมืองท่าอีกเมืองหนึ่งซึ่งมีความรุ่งเรือง) มาร์โคได้รับหน้าที่เป็นกับตันเรือปืนใหญ่ของเมืองเวนิส แต่เขาได้พลาดท่าไป จึงถูกจับไปเป็นเชลยเมืองเจนัว แต่การเป็นเชลยของเขากลับทำให้เขาโด่งดังและเป็นที่รู้จักในสังคมยุโรปขึ้นมา เพราะในช่วงที่ถูกจับเขาได้พบกับ รัสติเซียโน่ (Rusticiano) นักเขียนจากเมืองปิซ่า มาร์โคโปโลจึงเล่าประสบการณ์การเดินทางทั้งหมดให้นักเขียนผู้นั้นฟังจนเรื่องราวของเขาถูกตีพิมพ์ออกมาในหนังสือเรื่อง ‘บันทึกการเดินทางของ มาร์โค โปโล’ (The Travels of Marco Polo) สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาโด่งดันขึ้นมาเพราะ นอกจากพ่อค้าก็แล้วน้อยคนที่จะมีโอกาสได้เดินทางข้ามทวีปอย่างเขาและครอบครัว มาร์โคได้ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละดินแดนและความมั่งคั่งของอาณาจักรต่าง ๆ ที่เขาได้ไปสำรวจขณะรับราชการ เทคโนโลยีความล้ำสมัยในเอเชีย พืชพันธุ์ และสัตว์ต่าง ๆ ให้กับชาวยุโรปได้รับรู้ว่าอีกฝากนึงของโลกมีวิถีการใช้ชีวิตอย่างไร ขณะเดียวกัน มาร์โคก็ได้ถ่ายถอดเรื่องราวจากบ้านเกิดของเขาให้กับผู้คนชาวเอเชียจากคำขอของ กุบไล ข่าน เช่นเดียวกัน ดังนั้น เรื่องราวเช่นนี้ได้สะท้อนให้คนไทยอย่างเราได้เห็นว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะนามธรรม ซึ่งอาจจะไม่ได้มีอะไรเป็นตัวกำหนดว่าอะไรถูกหรือผิด ดีหรือเลว มากน้อยไปกว่ากันเพียงแต่เป็นความแตกต่างที่ถูกกำหนดมาแล้วผ่านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ในอดีต

 

มาร์โค โปโล: นักเดินทางผู้ทำให้คนจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกต่างอย่างไทย \"เข้าใจกัน\"

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก:
https://www.history.com/news/11-things-you-may-not-know-about-marco-polo
https://www.britannica.com
https://www.history.com

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม