Lifestyle

ระวัง "โรคพิษสุนัขบ้า" ลูกน้อยเสี่ยงถูกกัดสูง ฉีดวัคซีนก่อนดีกว่ามั้ย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลายคนเข้าใจว่า "โรคพิษสุนัขบ้า" เกิดในสุนัขเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว แมว กระต่าย กระรอก กระแต หนู ลิง ก็เป็นได้ ปกติแล้วเด็ก ๆ จะเสี่ยงถูกกัดสูง ถ้าฉีดวัคซีนก่อนจะดีกว่ามั้ย

ปกติแล้ว เด็ก ๆ จะมีความเสี่ยงในการถูกสัตว์กัดสูง เพราะเด็กมักแยกไม่ออกว่าสัตว์นั้น ดุร้าย หรือไม่ ซึ่งหลายคนยังเข้าใจว่า "โรคพิษสุนัขบ้า" เกิดในสุนัขเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้เกิดกับสัตว์เลือดอุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก กระแต หนู ลิง แล้วจะป้องกัน "โรคพิษสุนัขบ้า" จากการถูกสัตว์กันได้อย่างไร ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแล้ว จะช่วยได้แค่ไหน

วัคซีนป้องกัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ควรฉีดตอนไหน?

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเชื้อไวรัสที่เข้าทำลายประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดโรคทางระบบประสาท และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การติดเชื้อมักเกิดจากการแพร่ผ่านทางน้ำลายเข้าสู่บาดแผล ปาก หรือดวงตา ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถติดเชื้อ และเป็นตัวแพร่เชื้อได้

 

 

การป้องกันตนเองและบุตรหลาน ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด คือ

  • การไม่ถูกสัตว์กัด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ไม่รู้จัก

นอกจากนี้ วิธีป้องกัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ที่ง่ายที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันแบบก่อนสัมผัสโรค คือ ฉีดก่อนที่จะถูกสัตว์กัดหรือข่วน

วัคซีนป้องกัน "โรคพิษสุนัขบ้า" ต้องฉีดกี่เข็ม?

  • การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าจะฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ จำนวน 2 เข็ม โดยฉีดครั้งละ 1 เข็ม ในวันที่ 0 และ 7

ข้อดีของการฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสเชื้อ

หากได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือก่อนโดนสัตว์กัด จะมีประโยชน์ดังนี้

  • ไม่ต้องฉีด Immunoglobulin รอบบาดแผล : การฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เป็นการให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าหลังโดนสัตว์กัด โดยอิมมูโนโกลบูลินสามารถทำลายเชื้อไวรัสบริเวณแผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีด หากแพทย์พิจารณาฉีดอิมมูโนโกลบูลินร่วมกับการให้วัคซีน จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินโดยเร็วที่สุดและฉีดเพียงครั้งเดียว โดยฉีดบริเวณในและรอบบาดแผล โดยขนาดที่ให้จะปรับตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
  • เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบแล้ว : หากโดนสัตว์กัดหรือข่วน จะฉีดกระตุ้นเพียง 2 เข็ม เท่านั้น คือในวันที่ 0 และ 3 (แต่หากยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันมาก่อน จะต้องฉีดจำนวน 5 เข็ม และฉีดอิมมูโนโกลบูลิน รอบ ๆ แผลทุกแผล) 

 

 

หลังฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแล้ว หากโดนสัตว์เลียบริเวณเยื่อบุ บาดแผล หรือกัดข่วน ควรมาพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกครั้ง

เมื่อถูกสุนัข แมว หรือสัตว์เลือดอุ่นกัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล ควรทำอย่างไร?

  1. ล้างแผล ด้วยน้ำสะอาด และสบู่เบา ๆ หลาย ๆ ครั้ง
  2. เช็ดแผลให้แห้ง แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ
  3. กักสัตว์ที่กัด เพื่อสังเกตอาการ 10 - 15 วัน
  4. รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน
  5. รับวัควัคซีนให้ครบ และตรงตามเวลา

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ